นายกฯ หารือสภาอุตสาหกรรมฯ เน้นการทำงานแบบ New Normal ผนึก "รัฐ-เอกชน-ปชช."
19 มิ.ย. 2563, 16:14
วันนี้ ( 19 มิ.ย.63 ) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดโอกาสให้นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำคณะผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเข้าพบ ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือและรับฟังข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยการประสานเพื่อขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบ New Normal
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยการแก้ปัญหาระยะยาว ลดผลกระทบจากปัญหาไวรัสโควิด-19 โดยดำเนินมาตรการต่างๆ ครอบคลุมทั้ง“เยียวยา” และ “ฟื้นฟู” เช่น การลดภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วให้มีการขยายการปรับลดค่าไฟฟ้าจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 การลดค่าจดจำนองและค่าโอนที่ดินเหลือร้อยละ 0.01 ในปี 2563 การลดเงินสมทบประกันสังคมของนายจ้างจากร้อยละ 4 ให้เหลือเพียงร้อยละ 1 เป็นต้น รวมทั้งการสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารและสถานบันการเงินของรัฐต่างๆ รวมทั้ง พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้านบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวประทับใจต่อคำแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีถึงรูปแบบการทำงานแบบ New Normal ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน โดยวันนี้นายกรัฐมนตรีสร้างโอกาสและเวทีให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศและหน่วยงานภาครัฐ ร่วมพูดคุยหารือถึงข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนตลอดจนมีแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจจากมาตรการต่างๆ ประเทศไทยสามารถเปลี่ยนวิกฤต “โควิด-19” ให้กลายเป็น “โอกาส” หลังจากไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเป็นที่ยอมรับ พร้อมทั้งแสดงความความมั่นใจด้วยว่า ประเทศไทยจะกลายเป็นเป้าหมายปลายทางที่น่าสนใจทั้งสำหรับนักลงทุนและนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง
นายกรัฐมนตรี ยังย้ำว่าวันนี้คือ การทำงานแนวใหม่ “New Normal” ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน ประชาชน ลดปัญหา อุปสรรคและเน้นให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานให้เป็นมิติใหม่ของการทำงานเพื่อประเทศไทยอย่างแท้จริง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 จังหวัด ได้แก่ เลย
รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย ให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ที่มีภูเขาสูงชัน พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ที่เคยเกิดมาก่อนแล้ว พร้อมติดตามสถานการณ์ปริมาณน้ำฝนสะสม 24 ชั่วโมง หากฝนตกหนักถึงหนักมากและสถานการณ์รุนแรง ให้พิจารณาอพยพประชาชนไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย รวมถึงจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว ยานพาหนะ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย ตลอดจนแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังอันตรายจากสถานการณ์ภัยในระยะนี้ สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ สามารถติดต่อแจ้งเหตุและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขาในพื้นที่ หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป