ชาวบ้านร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นการก่อสร้าง "โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชุมชน" ที่ อ.หลังสวน
3 ก.ค. 2563, 18:18
เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 3 ก.ค.63 ที่ ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ศาลาเอนกประสงค์ เทศบาลตำบลวังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร นายประวิทย์ ภูมิระวิ นายกเทศมนตรี เป็นประธานในการประชุมรับฟังความคิดเห็นในการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชุมชน Bio Green Power Plant เชื้อเพลิง ชีวมวล ขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทไบโอกรีนเพาเวอร์แพลนท์จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 90 ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการเกษตรอำเภอหลังสวน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตพลังงานทดแทนและสร้างรายได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้กับชุมชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากสร้างความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน โครงการนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 48 ไร่ และมีพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่โครงการเป็นแนวทัศนียภาพและขอบเขตโครงการ โครงการนี้ใช้เชื้อเพลิงที่เป็นชีวมวลวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรวันละ 360 ถึง 400 ตัน ให้การผลิตไฟฟ้า ติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ ส่งขายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 9.0 เมกะวัตต์ ด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหม้อต้มไอน้ำ
จนท.ของ บริษัท Bio Green Power Plant กล่าวว่า "โครงการนี้ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล 360 ถึง 400 ตันต่อปีหรือประมาณ 100,000 ตันต่อปี เชื้อเพลิงที่ใช้เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและพืชพลังงานที่ได้จากการส่งเสริมการเพาะปลูก ได้แก่ ปีกไม้ กิ่ง รากไม้ และเศษไม้ยางพารา กระถินเทพา พืชพลังงานไม้โตไว ที่ส่งเสริมการปลูกไม้เบญจพรรณ 13 ชนิด ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 12-16 เดือน สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในเดือนสิงหาคม 2564 ใช้พนักงานก่อสร้างประมาณ 200 คน และดำเนินการประมาณ 47 คน โดยเน้นการจ้างงานในท้องถิ่น ใช้น้ำวันละประมาณ 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ไม่มีการระบายน้ำออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะใช้เทคโนโลยีระบายความร้อนด้วยอากาศ งบประมาณ 800 ล้านบาท
โครงการนี้ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยการเผาไหม้สมบูรณ์นำความร้อนไปต้มน้ำและปั่นไฟ นอกจากนั้นยังมีโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจรากฐาน อาทิเช่น กิจการในระยะสั้นภายใน 5 ปี ได้แก่ กิจการไข่ในชุมชน กิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์ กิจการผักปลอดสารพิษ กิจการสบู่คู่ชุมชน และยังมีกิจการในระยะปานกลางภายใน 10 ปี ได้แก่กิจการส่งเสริมการปลูกไม้ขายกล้า กิจการรวบรวมเชื้อเพลิงชีวมวล กิจการปลูกพืชพลังงาน กิจการในระยะยาวภายใน 20 ปี ได้แก่ กิจการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และสารบำรุง กิจการสับย่อยเชื้อเพลิงชุมชน
โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากวิสาหกิจ ชุมชนเป็นเจ้าของ เป็นผู้ผลิต เป็นผู้ใช้และเป็นผู้ขายมีส่วนแบ่งรายได้สร้างความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนโดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลหรือใช้พืชพลังงานผลิตไฟฟ้า ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้น้ำน้อยสร้างอาชีพสร้างงานสร้างรายได้ จ่ายภาษีให้กับอบต.เพื่อพัฒนาชุมชน มีกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อพัฒนาชุมชน ระยะก่อสร้างประมาณ 150,000บาทต่อปี ระยะดำเนินการประมาณ 700,000 บาทต่อปี มีส่วนแบ่งการขายไฟที่ 25 สตางค์ต่อหน่วยประมาณ 16 ล้านบาทต่อปี ระยะเวลา 20 ปี วิสาหกิจชุมชนร่วมเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าได้เงินปันผลจากหุ้นที่ถือประมาณ 4 ล้านบาทต่อปี วิสาหกิจชุมชนและชุมชนพื้นที่ปลูกพืชพลังงานมาขายเป็นรายได้ สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่สนับสนุนโครงการชุมชนต่อยอดธุรกิจชุมชนและมีเงินสนับสนุนช่วยเหลือชุมชน ภายใต้โครงการรับผิดชอบต่อสังคมด้านการศึกษาสุขภาพชุมชน การสร้างอาชีพ ศาสนาวัฒนธรรม โรงไฟฟ้ามีศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบทางด้านพลังงานจากชุมชน นอกจากนั้นยังมีมาตรการป้องกันแก้ไขติดตามตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการตั้งมาตรการป้องกันแก้ไขติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ระยะการเตรียมโครงการระยะการก่อสร้างระยะการดำเนินงาน ซึ่งจะมีแผนปฏิบัติการอยู่จำนวนมากเช่นเดียวกัน
ในขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่ของตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ยังมีอีกหลายส่วนที่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะได้รับโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชาวบ้านที่มีพื้นที่บ้านพักอาศัย และพืชสวนทางการเกษตรอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่คาดว่าจะเป็นที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน Bio Green Power Plant ได้ลุกขึ้นเสนอข้อกังวลและสอบถามถึงรายละเอียดของการก่อสร้างโครงการซึ่งได้รับการชี้แจงและยังมีข้อเสนอแนะให้ชาวบ้านได้ร่วมกันติดตาม การก่อสร้างหรือการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชุมชนไบโอกรีน Power Plant ในครั้งนี้ด้วย