มวล. จัดอบรมโครงการธนาคารปูม้าให้ชุมชนบนเกาะสมุย
5 ก.ค. 2563, 15:33
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล) ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับชุมชนชาวประมง บนเกาะสมุย พร้อมเปิด เปิดโครงการการถ่ายทอดและขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” เพื่อเพิ่มปริมาณปูม้าในท้องทะเลอ่าวไทยฝั่งเกาะสมุย ให้ทรัพยากรปูม้าในทะเลให้มีปริมาณมากขึ้น ในช่วงที่ธรรมชาติในทะเลอยู่ระหว่างมีการฟื้นฟู ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จึงทำให้ระบบนิวเวศดีขึ้น และห้ามกินไข่ ห้ามจับปูตัวเล็ก เชื่อในอนาคตจะมีทรัพยากรปูมามากยิ่งขึ้น
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 ผู้สื่อข่าว ONB news มีรายงานว่า ที่ศาลาอเนกประสงค์ ชายทะเลชุมชนบ้านใต้ หมู่ 5 ตำบลแม่น้ำ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายรามเนตร ใจกว้าง นายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย เป็นประธานในพิธี เปิดโครงการการถ่ายทอดและขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดสครศรีธรรมราช พร้อมคณะวิทยากร จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประมงอำเภอเกาะสมุย มาให้ความรู้ มีประชาชนในชุมชนอำเภอเกาะสมุย หลายชุมชน ที่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง เข้าร่วมในครั้งนี้
ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า สำหรับโครงการจัดอบรมในครั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดสนครศรีธรรมราช ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และนายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย รวมทั้งประชาชนในชุมชน ได้มีการตื่นตัว ในการฟื้นฟูทรัพยากรทะเล เช่น ปูม้า จึงได้ดำเนินโครงการธนาคารปูม้า ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด เพื่อเพิ่มปริมาณปูม้าในธรรมชาติให้มากขึ้น และให้เพียงให้พอต่อความต้องการของประชากร จึงสนับสนุนให้ ชุมชน ชาวประมงเข้ามามีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ทรัพยากรปูม้า และส่งเสริมให้ ชุมชนและชาวประมง ที่เข้ารับการอบรมได้มีความรู้ทางวิชาการ และเพิ่มประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความเข้มแข็งในชุมชนประมง
ทั้งนี้ ปูม้า นับว่าเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก ราคาดี ตลาดมีความต้องการ และสามารถเกิดใหม่ทดแทนได้แล้ว แม่ปูม้าหนึ่งตัวจะออกไข่ได้ถึง 3 แสนฟองเป็นอย่างต่ำ และมีอัตราการฟักของไข่สูง ตั้งแต่ร้อยละ 65-88 ตามระยะสีของไข่ และมีผลต่อการฟักออกเป็นตัวด้วย ซึ่งในการอบรมครั้งนี้ได้มีการบรรยายทั้งภาควิชาการ และการศึกษาดูงานจากสถานที่ที่มีการดำเนินการสำเร็จจริงในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความรู้ และประสบการณ์ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม และคนในชุมชน จะได้นำความรู้ที่ได้กลับไปดำเนินการจัดตั้งกลุ่ม และบริหารจัดการในพื้นที่ของตนเองต่อไปได้
โดย ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยังเผยอีกว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาแนวทางจัดการและฟื้นฟูการประมงปูม้า หากเราไม่จับปูม้าไข่มากิน ไม่กินปูตัวเล็ก หรือเพื่อการประมงก็จะทำให้ปูม้า มีจำนวนมากและ ยั่งยืนในระยะยาว และสอดคล้องกับแนวทางการจัดการทรัพยากรประมงของสากล การจัดทำธนาคารปูม้า นับได้ว่าเป็นกิจกรรมต่อยอดและขยายผลงานวิจัยและเผยแพร่ที่ตอบโจทย์ความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ในหลายประเด็น เช่น “การรักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง” ซึ่งตอบโจทย์จากการสร้างแนวทางการฟื้นฟูปูม้า และระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ “การกำจัดความยากจน” แก้ปัญหาเรื่องรายได้ของชาวประมง ส่งเสริมอาชีพทางเลือก เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล ประกอบอาชีพร้านอาหารทะเลพื้นบ้าน เนื่องจากปูม้าเป็นแหล่งโปรตีนทางทะเลที่สำคัญ และประเทศไทย ซึ่งในอำเภอเกาสมุย มีศักยภาพในเรื่องของการทำประมง เชื่อในอนาคตหากทุกภาพส่วนให้ความร่วมมือไม่ช้ารอบๆ เกาะสมุยจะมีประชากรปูม้าเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าว
ขณะที่ นาย ปณิธาน บุญสา ผู้ประสานงานชุมชนอำเภอเกาะสมุย เปิดเผยว่า จากการที่ทาง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่มาให้ความรู้กับชุมชนในการจัดตั้งกลุ่มธนาคารปูม้า เป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับชุมชนชาวประมงในอำเภอเกาะสมุย เนื่องจากในปัจจุบัน ธรรมชาติและระบบนิเวศรอบๆ เกาะสมุย อยู่ระหว่างฟื้นตัว ในช่วงโควิด-19 เนื่องจากไม่มีคนไปรบกวน จึงทำให้ธรรมชาติสงบ จึงเป็นผลดี และเชื่อว่ากลุ่มชาวประมง ที่เข้าร่วมรับฟังได้ประโยชน์มาก และน่าจะสามารถรวมกลุ่มต่อยอดและสร้างเครือข่าย และน่าจะไปต่อยอดในทิศทางที่ดีได้ ซึ่งในอนาคตนี้ หากทางชุมชนจะร่วมกันตั้งกลุ่มและตั้งเครือข่าย กันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ตนมองว่า ธนาคารปูม้า เป็นโครงการที่น่าจะสามารถขับเคลื่อนไปกันได้ หากทุกภาคส่วนในอำเภอเกาะสมุย ให้ความร่วมมือ ขณะเดียวกัน ตนมองว่าการร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนตลอดถึงชาวประมงที่มาร่วมรับฟังบรรยาย ความรู้ การจัดทำโครงการนาคารปูม้า ซึ่งเห็นว่าคนในชุมชนมีการตื่นตัวกันมากขึ้น และเข้าใจองค์ความรู้และความคิดมากขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ บทบาทของชุมชนเองก็ต้องย้อยกลับมาคิดว่า พร้อมแล้วหรือยังที่จะร่วมกันทำการจัดการ เรื่องนี้ ซึ่งหากหน่วยงานต่างๆ บนเกาะสมุย ให้ความร่วมมือ ตนเชื่อว่าโครงการนี้สามารถต่อยอด ให้กับชุมชนและชาวประมง ในอนาคตลูกหลานนักท่องเที่ยวจะได้กินปูม้า จากทะเลเกาะสมุยอย่างแน่นนอน