แพทย์จุฬาฯ ชี้!! พลาสมาสามารถรักษาผู้ป่วยโรคโควิด -19 ได้ผล แต่ต้องได้รับตั้งแต่เริ่มมีอาการ!
7 ก.ค. 2563, 10:32
นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงความคืบหน้าการใช้พลาสมาสร้างแอนตี้บอดี้ ว่า การใช้พลาสมามารักษาโรคไม่ใช่เรื่องใหม่ ในผู้ที่หายจากโรคติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานมาต่อต้านเชื้อโรคนั้น เราสามารถใช้ภูมิต้านทานนั้น มาให้ผู้ป่วยใช้ช่วยในการรักษา เช่น เอามาทำเป็นเซรุ่ม โดยเซรุ่ม ที่เราใช้อยู่จะถูกสกัดมาอีกทีหนึ่งให้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันที่นำพลาสมาในผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 ก็จะมีภูมิต้านทานต่อไวรัส มารักษาผู้โควิด -19 ได้ ซึ่งการรักษาพลาสมาในผู้ป่วยโควิด -19 ของประเทศไทย พบว่ามีผู้ป่วยใช้พลาสมารักษาและมีอาการดีขึ้น อย่างเช่น กรณีจากจังหวัดสงขลาที่มีผู้ป่วยใช้พลาสมารักษา ซึ่งได้ผลดี ซึ่งการให้พลาสมากับผู้ป่วยโควิด -19 ต้องให้เร็ว ก่อน 14 วันหลังจากเริ่มอาการ จะได้ผลการรักษาที่ดีมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าให้พลาสมาในช่วงระยะสุดท้ายส่วนใหญ่ก็ไม่เกิดผล แต่ก็มีบางรายได้ผลในระยะสุดท้ายและไม่สามารถการันตีได้ว่าผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีกครั้ง ซึ่งสามารถกลับมาเป็น
นายแพทย์ ยง กล่าวอีกว่า ส่วนพลาสมาที่สภากาชาดไทยมีอยู่จำนวนกว่า 250 ถุง ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการทำเซรุ่ม คาดว่าต้องใช้มากถึง 1,000 ถุง จึงอยากเชิญชวนผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด -19 แล้ว มาบริจาคพลาสมา ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เพื่อนำไปทำยารักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงได้
ซึ่งแต่ละครั้งที่บริจาดจะมีการเช็ดสุขภาพก่อน ผู้ป่วยต้องหายดีไม่มีอาการแล้ว หรือออกจากโรงพยาบาลและกักตัวที่บ้านครบ 14 วันแล้ว เป็นผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 18-60 ปี น้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัมขึ้นไป และไม่มีโรคประจำตัว จะบริจาดพลาสมาปริมาณ 400-600 ซีซี ต่อครั้งและสามารถเก็บเอาไว้ได้นานเกือบ 1 ปี อย่างไรก็ตามพลาสมาที่บริจาด จะนำไปรักษาตัวผู้ป่วยโควิด -19 โดยจะให้พลาสมาตามขนาดของน้ำหนักผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยน้ำหนักมากว่า 60 กิโลกรัม ให้พลาสมาครั้งละ 300 ซีซี และภาย 24 ชั่วโมงอาการไม่ดีขึ้น สามารถให้อีกครั้งได้ นับว่าพลาสมา เป็นหนึ่งทางเลือกในการรักษาโรคโควิด -19