สวยสง่า ! "แพนเค้ก" ร่วมเดินแฟชั่นโชว์นวัตกรรมผ้าและสิ่งทอชุมชน ครั้งที่ 2
1 ส.ค. 2563, 13:00
วันนี้ 31 ก.ค.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ลานกิจกรรมชั้น 1 เซ็นทรัลพลาซ่าอุดรธานี นายวันชัย จันทร์พร รองผวจ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดงาน “แฟชั่น นวัตกรรมผ้าและสิ่งทอชุมชน ครั้งที่
ผศ.ดร.ธีระยุทธ์ เพ็งชัย ในนามคณะทำงานศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวว่า ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หรือ FTCDC : Fabric and Textile Creative Design Center ตั้งขึ้นด้วยพันธกิจของการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป้าหมายในการอนุรักษ์เชิงการพัฒนาและยกระดับผ้าทอมือในชุมชนสู่ความเป็นสากล ด้วยการบูรณาการภูมิปัญญาดั้งเดิมในวัฒนธรรมการทอผ้าของชุมชนอีสาน กับการพัฒนาด้วยนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เป็นการจัดต่อเนื่องจากปี 2562 วัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอผลงานในการเข้าไปร่วมพัฒนาผ้าทอชุมชนของ ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ ในปี 2562-2563 จัดระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2563 ซึ่งกิจกรรมในการจัดงานครั้งนี้ แบ่งออกเป็น นิทรรศการแสดงผลงานแฟชั่นและนวัตกรรมผ้าและสิ่งทอชุมชน อาทิ นวัตกรรมผ้าครามผสมเส้นใยฟีลาเจน นาโนรูปแบบใหม่ นวัตกรรมมาตรฐานผงสีย้อมธรรมชาติจากบัวแดง สำหรับการย้อมเส้นไหม การพัฒนาครามพันธุ์พื้นเมืองภูพระบาท เทคโนโลยีการปลูกฝ้ายสี การพัฒนาผ้าไหมขิดนกยูงทองพระราชทาน ภูมิปัญญาและลวดลายผ้าทอ และการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอชุมชนสู่สากล จากผ้าทอสู่สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ เครื่องแต่งกาย กระเป๋า รองเท้า บรรจุภัณฑ์
การเดินแบบแฟชั่นจากผ้าทอชุมชน โดยศิลปินดารา แพนเค๊ก เขมนิจ ,บลู พงษ์ธิวัฒน์ และเซเลบริตี้ การเสวนาออกแบบแฟชั่นจากผ้าทอ โดยคุณอู๋ วิชระวิทย์ นักออกแบบไทยในเวทีแฟชั่นระดับโลก การเสวนาการพัฒนาผ้าทอโดย FTCDC และ การออกร้านจำหน่ายสินค้าผ้าทอระดับพรีเมียม โดยชุมชนที่ ศูนย์ FTCDC เข้าไปร่วมพัฒนา จำนวน 25 กลุ่มชุมชน
นายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า งาน FiFT2020 ซึ่งจัดขึ้น มีความสำคัญด้านการพัฒนาและยกระดับให้ผ้าทอพื้นเมืองเป็นผลิตภัณฑ์จากชุมชน ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตน ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น และจะเป็นการจุดประกายในการส่งเสริมพัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการออกแบบแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าทอชุมชน ให้มีคุณค่าความสวยงาม (High Value) มีความแตกต่าง (Design Difference) ตรงกับยุคสมัยนิยม (Design Trend) เป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนาสินค้าสู่สากล ซึ่งเป็นเป็นกลไกที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการสร้างอาชีพและรายได้ในชุมชนอย่างยั่งยืน