หนึ่งเดียวในโลก !! "ช้าง 43 เชือก" ร่วมแห่เทียนพรรษา ในงานมหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้างรับวันเข้าพรรษา ปี 62
16 ก.ค. 2562, 08:35
วันที่ (15 ก.ค.62) ที่บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดี เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดสุรินทร์ โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้างจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี 2562” ซึ่งจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมืองสุรินทร์ และ ททท.สำนักจังหวัดสุรินทร์ ร่วมจัดขึ้นในวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2562 เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี อันดีงามของชาวไทย รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจัดขึ้น
โดยวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม ในช่วงเย็น ได้มีการจัดริ้วขบวนแห่เทียน ที่ตกแต่งอย่างวิจิตรอลังการ ขบวนฟ้อนรำศิลปวัฒนธรรมของชาวจังหวัดสุรินทร์ อย่างยิ่งใหญ่สวยงาม จากขบวนแห่เทียนพรรษาจาก 12 คุ้มวัดอย่างสวยงาม เดินทางเข้ามายังตัวเมืองสุรินทร์ ผ่านอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดี ให้นักท่องเที่ยวและผู้คนที่มาชมกันแน่นอัฒจรรย์ทั้ง 2 ฝั่งที่จัดให้ได้นั่งชม โดยเฉพาะขบวนแห่เทียนพรรษาจากคุ้มวัดใหม่ศรีมากทอง ซึ่งชนะเลิศการประกวดขบวนแห่เทียนพรรษาในปีนี้
จากนั้นชมขบวนแห่ช้างสุดยิ่งใหญ่กว่า 40 เชือก ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ขบวนชาติ (ชูช้างไทย) ประกอบด้วยช้างประดับธงชาติไทย ชุดที่ 2 สถาบันศาสนา ชุดที่ 3 ขบวนพระมหากษัตริย์ ชุดที่ 4 ขบวนเกียรติภูมิท้องถิ่นไทย โดยแต่ละขบวนต่างประดับตกแต่ง หลากหลายสีสันไม่ว่าจะเป็น ขบวนช้างประดับไฟ ขบวนช้างเทิดพระเกียรติ 57 ถึงแม้ว่าขณะที่ขบวนช้างจะเคลื่อนออกมามีฝนตกลงมา แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรค ร่วมไปถึงการแสดงของน้องๆนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์และนักเรียนจากโรงเรียนวีรวัฒน์โยธินในชุดมวยไทย ทำเอาผู้คนรอดูต่างประทับใจเป็นอย่างมาก
โดยมีไฮไลท์ที่สำคัญของงานคือ พิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้างหนึ่งเดียวในโลก ในเช้าวันที่ 16 ก.ค.2562 อีกด้วย โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ที่บริเวณอนุสาวรีย์ระยาสุรินทรภักดี ซึ่งเป็นการจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 13 โดยครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 ถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในโลก ที่ได้รับความสนใจทั้งจากชาวไทยและต่างชาติ โดยจะมีการจัดงานขึ้น 2 วัน เป็นประจำทุกปี ในช่วงวันเข้าพรรษาและอาสาฬหบูชา เพื่อบำรุงรักษาศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม ของชาวสุรินทร์ ให้คงอยู่สืบไป โดยเฉพาะเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ซึ่งได้จัดมาเป็นประจำทุกปี โดยมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่นั่งบนหลังช้างออกรับบิณฑบาตแก่นักท่องเที่ยว