ครบรอบวันสถาปนา 133 ปี มหาจุฬาฯ ประกาศสู่มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาของโลก (คลิป)
13 ก.ย. 2563, 09:22
วันที่ 13 ก.ย. 63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วังน้อย พระเดชพระคุณพระราชปริยัติกวี, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานเปิดงานครบรอบวันสถาปนา “133 ปี มหาจุฬาฯ” ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราช ได้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2430 เพื่อให้ภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ได้ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง ปัจจุบันได้เวียนมาบรรจบเป็นปีที่ 133 ปี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ประสบความสำเร็จในการจัดศึกษาและประกาศพระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ เป็นไปตามพุทธปณิธานที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงส่งพระอรหันตสาวก 60 รูป ชุดแรก ออกประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชนและเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกและพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราช ผู้ทรงสถาปนา นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของประชาคมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปทั่วโลก เพื่อความสงบ และสันติสุขของชาวโลกตลอดมา ดังข้อความสำคัญที่แสดงถึงภารกิจของมหาวิทยาลัย ที่ว่า “133 ปี มหาจุฬาฯ ดำรงพุทธศาสน์ สืบสานพระราชปณิธาน บูรณาการพุทธนวัตกรรม นำสังคมสู่สันติสุข”
งานครบรอบวันสถาปนา “133 ปี มหาจุฬาฯ” ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑.เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์ผู้ทรง สถาปนามหาวิทยาลัย ๒.เพื่อสร้างความสามัคคีและปลูกฝังจิตสำนึกอันดีงามต่อบุคลากรและประชาคมของมหาวิทยาลัย การจัดงานครั้งนี้ มีกิจกรรมวิชาการและนิทรรศการ จำนวน ๒ วัน ได้แก่วันที่ 11 -12 กันยายน 2563 ภาคเช้ามีปาฐกถาพิเศษ 133 ปีมหาจุฬาฯ เหลียวหลังแลหน้า สืบสาน รักษา และต่อยอด” โดยพระราชปริยัติกวี, ศ.ดร. อธิการบดี ส่วนภาคบ่ายมีการสัมมนาวิชาการะดับชาติ และนานาชาติเรื่อง มหาจุฬากับการก้าวสู่มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาของโลก โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป และภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการต่างๆของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต 10 แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ ทั่วประเทศ เช่น พัฒนาการของมหาวิทยาลัย สามแผ่นดินกับพระพุทธศาสนาการจัดการความรู้ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังได้มีการออกบูทนำของดีในแต่วิทยาลัยสงฆ์ ของแต่ละจังหวัดมาแสดงโชว์ในงาน เช่น วิทยาลัยสงฆ์ศรีเกษ วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด วิทยาลัยสงฆ์ฉะเชิงเทรา และอีกหลายวิทยาลัยสงฆ์
ซึ่งพระราชปริยัติกวี, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ได้เดินทางมายาวนานกว่า133ปีแล้ว ทางมจร.จะต้องมีการบริหารงานให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งความเก่งกล้าทางวิชาการนั้นบางครั้งเราไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะเราไม่มีความเข้มแข็งทางด้านจิตใจทางมจร.จึงจะมีการจัดทำโครงการพุทธนวตกรรม เพื่อนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาสอน พร้อมสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ และสามารถนำไปใช้ได้ในสังคมปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ปกติ หรือไม่ปกติ เราก็จะสามารถผ่านมันไปได้ด้วยดี และถือเป็นการสร้างองค์กรของมหาวิทยาลัยให้เป็นแบบอย่าง เช่นต้องสร้างความใกล้ชิดกันระหว่างศิษย์กับอาจารย์ให้มากยิ่งขึ้น ใครเป็นอาจารย์ใคร ใครเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ท่านไหน เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมในองค์กรณ์ขึ้น เมื่อจบการศึกษาไปแล้ว แยกย้ายกันไปทำงานในองกรณ์ต่างๆและเมื่อยามเกิดความขัดแย้งกันขึ้นในสังคม ก็จะสามารถแก้ไขความขัดแย้งได้ด้วยวัฒนธรรมขององค์กร์ตามพุทธนวตกรรมทางทางมหาวิทยาลัยได้สร้างขึ้นมาจะเป็นตัวที่แก้ปัญหาได้ทั้งหมดเพราะความเป็นศิษย์เป็นอาจารย์และเป็นเพื่อนในสถาบันเดียวกัน
ชมคลิป