อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดงาน "ท่องเที่ยวไหมไทย สร้างสรรค์ ชุมชนสู่เส้นทางโลก"
17 ก.ย. 2563, 12:24
เมิ่อเวลา 14.30 น. วันที่ 16 ก.ย. 63 ที่บริเวณ ชัน 7 กรมหม่อนไหม ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถ.งามวงศ์วาน ต.บางเขน กรุงเทพ นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ อธิบดีกรมหม่อนไหม เป็นประธานเสาวนาก่รจัดงาน ท่องเที่ยวไหมไทยสร้างสรรค์ ชุมชนสู่เส้นทางโลก โดยมีนายนพดล ภาคพรต รองผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พร้อมห้วหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมงานเสาวนาในครั้งน้ี้
นายวสันต์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีหมู่บ้านที่เลี้ยงหม่อนไหมกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ละหมู่บ้านได้สืบทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญญาการเลี้ยงไหม และทอผ้าไว้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อีกประเภทหนึ่งที่ควรได้รับการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้คนไทยได้ไป ท่องเที่ยว เพื่อสืบสานภูมิปัญญา คุณค่า เอกลักษณ์ ของผ้าไหมไทยให้คงอยู่และเพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระมหากรุณาธิคุณใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการส่งเสริมและสนับสนุนไหมไทยให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย รวมทั้งเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการผ้าไหมและการขยายโอกาสทางการค้า
กรมหม่อนไหมจึงมีแนวคิดจัดงานเพื่อนําเสนอสินค้าที่ดีมีคุณภาพจากเกษตรกรเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ผู้ประกอบการธุรกิจสิ่งทอ และ ดีไซน์เนอร์ต่างชาติ ได้รู้จักผ้าไหมไทยและวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ ้น และต้องการให้สินค้าจากเกษตรกรไม่ใช่แค่รู้จักภายในประเทศเท่านั้น แต่เพื่อให้ผ้าไหมไทยเป็นที่รู้จักสู่ตลาดสากลให้ผู้ประกอบการธุรกิจสิ่งทอต่างชาติสั่งซื้อผ้าไหมไทยเป็นวัตถุดิบ เพื่อสร้าง รายได้ให้เกษตรกรหลังวิกฤตเศรษฐกิจและการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า (Covid-19)
การท่องเที่ยงแห่งประเทศไทย กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับมูลนิธิช่วยเหลือนักท่องเที่ยว กําหนด จัดโครงการ “ท่องเที่ยว ไหมไทย สร้างสรรค์ชุมชน สู่เส้นทางโลก”(Creative Local Silk Tourism for the World) กำหนดจัดงาน ในวันที่ 22-23 กันยายน 2563 ณ ชั ้น G ลานเมือง 1 และ ลานเมือง 2 ศูนย์การค้าไอคอนสยาม โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและผู้ประกอบการผ้าไหมทั่วประเทศได้นําสินค้ามาจําหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ น และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหมู่บ้านผ้าไหมไทยทั่วประเทศร่วมถึงสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลกอีกด้วย