สวยงามอลังการ โบราณสถานพระธาตุลานเตี้ย พระธาตุซ้อนสองยุค จ.พะเยา
20 ก.ย. 2563, 11:41
ชมความสวยงามอลังการโบราณสถานพระธาตุลานเตี้ยพระธาตุซ้อนสองยุค ในพื้นที่ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว ซึ่งโบราณสถานพระธาตุลานเตี้ย ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ ทางฝังตะรันอกขอดอยหม้อ ชื่อของโบรณสถานแห่งนี้ มีทีมาจากบริเวณที่ตั้งมีต้นลานเตี้ยๆ อยู่จำนวนมาก โบราณสถานสำคัญ ประกอบด้วยเจดีย์ประธานวิหาร มณฑป ฐานพระพุทธรูปและฐานเจดีย์ทรงกลม มีกำแพงแก้วล้อมรอบ นอกจากนั้นองค์พระธาตุยังมีการสร้างเป็นสองยุคซ้อนกันยังมีอคารขนาดใหญ่กด้วยอิฐตั้งอยู่ค้นถ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของเนินเขา
องค์พระธาตุหรือเจดีย์ ที่เก่าแก่ขนาดใหญ่ และมีความสวยงามอลังการ และที่สำคัญมีร่องรอยของการสร้างซ้อนกันถึงสองยุค ของโบราณสถาน พระธาตุลานเตี้ย ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านสันต้นแหน หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา เป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจให้ผู้ที่เดินทางมาเที่ยวชมเป็นอย่างมาก หลังจากทางกรมศิลปกรและคณะศรัทธาวัดสันต้นแหนได้ทำการขุดแต่งและบูรณะโบรณสถานแห่งนี้ ใน พศ.2546. 2555 และ 2557 ตามลำดับ พบหลักฐาน การก่อสร้างเจดีย์ประธานอย่างน้อย 2 สมัย สมัยที 1 เจดีย์ประธานเป็นจดีย์ทงปราสาทในผังหกเหลี่ยม มีทางเข้าสู่คูหาประดิษฐานพระพุทธรูปทางทิศตะวันออก เหนือเรือนธาตุเป็นชั้นหลังคา เอนลาดในผังหกเหลี่มรองรับองค์ระฆังกลม ทีมีลักษณะเอวคอดกิ่ว แสดงอิทธิพลของศิลปะแบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14-17) เหนือองค์ระฆังประดับด้วย "ฉัตรวลัย" ในปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานการพบเจดีย์ที่มีแผนผังหกเหลี่ยมในอาณาจักรล้านนา ส่วนองค์ระฆังที่มีเอวคอดกิ่วนั้นเป็นรูปแบบศิลปะแบบปาละ ซึ่งส่งอิทธิพล ผ่านศิลปกรรมของอาณาจักรวารวดี (พุทธศตวรรษที 11-16) และพุกาม (พุทธศตวรรษที่ 16-19) เข้าสู่ล้านนา โดยพบที่ รัตนเจดีย์ วัดจามเทวี จังหวัดลำพูนซึ่งสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 17 สมัยอาณาจักรหริภุญไชย และ เจดีย์สะดือเมือง จจังหวัดเชียงใหม่ , เจดีย์วัดปาสัก เมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นเจดีย์ยุคแรกเริ่มของอาณาจักรล้านนา ส่วนฉัตรลัย นั้นเป็นรูปแบบศิลปะสมัยปาละเช่นกัน แต่ไม่เคยพบในดินแดนของอาณาจักรล้านนามาก่อน จึงเป็นได้ว่า เจดีย์พระธาตุลานเตี้ยสมัยที่ 1 นี้ อาจเป็นเจดีย์รุ่นแรก ๆ ของอาณาจักรล้านนาหรือก่อนหน้านั้น ที่ยังหลงเหลือหลักฐานอยู่ในปัจจุบัน
สมัยที่ 2 คูหาของเจดีย์ในสมัย 1 ยังใช้สืบมาในสมัยนี้ แต่ได้มีการก่อสร้างซุ้มประตู เข้สู่คูหาและปรับเปลี่ยน แผนผังของเจดีย์ประธานเป็นผังกลม ประดับเรือนธาตุด้วยฐานบัวคว่ำ และบัวถลา รองรับชุดฐานปัทม์ลูกแก้วอกไก่เหนือขึ้นไปปรักหักพังหมดสภาพ รอบฐานเจดีย์มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีแท่นชาตั้งอยู่ทางทิศไต้และทิศตะวันตก จากชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้น ปลายกรอบซุ้มประตูที่พบขณะขุดแต่ง สันนิษฐานว่าเจดีย์สมัยที 2 นี้ น่าจะปฏิสังขรณ์ขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 -ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 นอกจากนั้น วิหาร ตั้งอยู่ด้านหน้าของเจดีย์ประธาน หลังขุดแต่งพบเพียงฐานรากและแนวผนังล้มส่วนหลัง จึงสันนิษฐานว่าเป็นวิหารโถง มีผนังเฉพาะพื้นทีประดิษฐานพระประธานซึ่งอยู่ส่วนหลัง สำหรับด้านหลังเจดีย์ประธาน เป็นมณฑป ฐานพระพุทธรูปและฐานเจดีย์ทรงกลม ซึ่งแสดงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย-ลานนา จากตำแหน่งที่ตั้งของ โบราณสถานดังกล่าว สันนิษฐานว่ามณฑป น่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างหลังสุดของโบราณสถานกลุ่มนี้ปัจจุบันโบราณสถานพระธาตุลานเตี้ย หลังจากการบูรณะตกแต่งแล้วพบเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดพะเยา ที่มีความสวยงามอลังการตื่นตาตื่นใจกับผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นโบราณสถานที่มีความเก่าแก่