ปชช. แห่เที่ยวประเพณีวิ่งควายชลบุรี ครั้งที่ 149 คึกคัก !
1 ต.ค. 2563, 16:30
วันที่ 1 ต.ค. 63 ผู้สื่อข่าว onbnews รายงานว่า ที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองชลบุรี ถูกปรับแต่งให้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันประเพณีวิ่งควาย ครั้งที่ 149 ประจำปี 2563 โดยมี นางสาวจุฑารัตน์ ปริญวชิรพัฒน์ ปลัดเทศบาลเมืองชลบุรี ปฏิบัติหน้าที่ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองชลบุรี เป็นแม่งานจัดอย่างยิ่งใหญ่ ท่ามกลางนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชิต เดินทางเข้ามาเยี่ยมชมและท่องเที่ยวกันอบ่างคึกคัก แต่เนื่องจาก ผลพวงของโรคระบาดไวรัสโควิด 19 ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติน้อยลงอย่างเห็นได้จัด
โดยมี นายธรรมศักดิ์ รัตนธัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และนายนริศ นิรามัยวงศื ปลัดจังหวัดชลบุรี เป็นประธานตีกลองสะบัดชัย เปิดประเพณีวิ่งควายชลบุรี หนึ่งเดียวในโลก ครั้งที่ 149 ประจำปี 2563
กิจกรรมตั้งแต่เช้า มีแห่ริ้วขบวนกัณฑ์ 13 กัณฑ์ตามทศชาติชาดก ขบวนคำขวัญของจังหวัดชลบุรี ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยงาม จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย” โดยทั้ง 11 อำเภอของจังหวัดชลบุรี พร้อมหน่วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ยาวกว่า 4 กม. เดินแห่รอบตลาดเมืองชลบุรี เป็นระยพทางกว่า 10 กม. โดยมีผู้ปกครอง ชาวบ้านพาบุตรหลานมาชมกันอย่างสนุกสนานและคึกคัก
จากนั้น ภายในงาน มีกิจกรรม มีการประกวดสุขภาพความงาม แม่พันธ์ควาย พ่อพันธ์ควาย เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ พันธ์ควายไทย การประกวดตกแต่งควาย ประเภท สวยงาม และตลกขบขัน ส่วนพ่อพันธ์ควาย ควายชื่อฟ้า อายุ 7 ปี ได้แชมป์ไปครองอีกปี เนื่องจากปีที่แล้วก็เป็นแชมป์
มีกิจการการแข่งขันกีฬาไทยพื้นบ้าน ยิงเป้าด้วยหนังสติ๊ก ปีนเสาน้ำมัน ตะกร้อลอดห่วง ปริสนาคำทาน ประกวดน้องนางบ้านนา ประกวดสาวเหลือน้อยบ้านนาเป็นต้น
ไฮไลท์ของงาน เป็นช่วงเวลาของการตื่นเต้นเร้าใจ คือการแข่งขันวิ่งประลองความเร็วควาย หรือที่เรียกกันว่า ควายเร็ว มีการแข่งขันทั้งหมด 5 รุ่น คือ ซุปเปอร์จิ๋ว จิ๋วพิเศษ จิ๋วเล็ก จิ๋วใหญ่ และรุ่นใหญ่
ประวัติความเป็นมาของประเพณีวิ่งควายชลบุรี ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยบรรพการ สืบทอดมาหลายช่วง ซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝน จะย่างเข้าฤดูหนาว เป็นการที่ชาวนาไถหว่านเสร็จเรียบร้อย ขึ้น 14 ค่ำ ก็จะนำข่าวของดอกไม้มาวัดใหญ่อินทาราม อ.เมือง จ.ชลบุรี และก็จะเอาควายมาวิ่งอวดกัน และแข่งขันไปที่สระน้ำเพื่อเก็บดอกบัว ชาวนาก็นึกสนุก ก็เอาควายมาวิ่งแข่งกัน มาอวดความสวยงามควายว่า ควายใครสวยหรือตัวใหญ่กว่ากัน สร้างความสามัคคี ต่อมา ก็มีการจัดแข่งกันเป็นประจำทุกปี จนกลายเป็นประเพณีวิ่งควายชลบุรี
และมีความเชื่อว่า ถ้าควายตัวไหนป่วย เจ้าของควายก็จะนำควายไปบ่นกับเทพารักษ์ เมื่อหายเป็นปกติ ก็ต้องนำควายมาวิ่งแก้บน และยังเชื่ออีกว่า หากปีไหนไม่จัดแข่งขันวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดตายเป็นเบือ และยังเชื่ออีกว่า ไม่จัด จะเกิดอาเพศ ภัยพิบัติ รวมถึงไฟไหม้ตลาดครั้งใหญ่อีกด้วย จนต้องจัดเป็นประเพณีวิ่งควายชลบุรี สืบต่อกันมาถึงครั้งนี้ ครั้งที่ 149