"สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง" ติดตามการใช้ประโยชน์ของช้างป่าในโป่งเทียม รองรับอัตราการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
12 ต.ค. 2563, 11:55
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจิรชัย อาคะจักร นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผย ว่าขณะนี้ทางสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง ได้มีการติดตามการใช้ประโยชน์ของช้างป่าในโป่งเทียม พื้นที่ทุ่งหญ้าห้วยหินลับในเขตฯภูหลวง พบช้างป่าเข้าใช้ประโยชน์มากกว่า 39 ตัว และติดตามการรอดตายของต้นกล้ามะม่วงป่าที่ร่วมกันปลูก(15 ส.ค.63) พบอัตราการรอดตายดี
โดยทาง สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวงกำลังศึกษาพฤติกรรมช้างป่าที่ออกนอกพื้นที่ โดยเก็บข้อมูลการเคลื่อนที่ของช้างป่า แรงดึงดูดที่ทำให้ช้างป่าออกไปในพื้นที่ชุมชนและการเพิ่มศักยภาพในป่าตรงจุดที่ช้างป่าพักอาศัยแต่เดิมให้สามารถช่วยชะลอการออกนอกป่าด้วยแรงดึงดูดของพืชเกษตร ตอนนี้ทำ 3 มิติ
1.เก็บข้อมูลพืชดึงดูดนอกป่า(พืชเกษตร) ดูชนิดพืชความถี่ในการออกไปการเข้าไปในพื้นที่ชุมชน
2.การลดแรงดึงดูดนอกป่าโดยให้ความรู้ชุมชนเกี่ยวกับอาชีพทางเลือกพืชที่ลดแรงดึงดูดปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตเมื่ออยู่ใกล้เขตป่าเป็นการเรียนรู้อยู่ร่วมกัน
3.การเพิ่มศักยภาพพื้นที่ป่าให้สามรถดึงดูดช้างป่าให้กลับเข้ามาใช้พื้นที่มากที่สุด ยาวนานที่สุดอย่างไม่สูญเสียความสมดุลระบบนิเวศน์ โดยให้ความสำคัญกับพืชอาหารช้างป่าและโป่งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ทั้งนี้ อนาคตในเรื่องของช้างในป่าภูหลวง เพื่อเป็นการศึกษาการขยายพันธุ์และการศึกษาด้านอื่นๆ และเพื่อศึกษาผลกระทบต่อการออกนอกพื้นที่ป่าของช้างที่กระทบต่อชาวบ้านและนำมาปรับปรุงและแก้ปัญหาต่อไปในอนาคต