เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



สำนักงานชลประทานที่ 12 ประชุมบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อให้เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตร


22 ก.ค. 2562, 17:56



สำนักงานชลประทานที่ 12 ประชุมบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อให้เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตร




(22 ก.ค. 62) ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่บริเวณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ SOWOC12 สำนักงานชลประทานที่12 จ.ชัยนาท นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่12 ได้มีการประชุมร่วมกับ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานในสังกัด พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ถึงเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อให้เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค ภาคของการเกษตร และการรักษาระบบนิเวศ ในช่วงที่เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงในขณะนี้

โดยนายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่12 เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงฝนทิ้งช่วงทำให้หลายพื้นที่มีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ต่ำกว่า ปกติ อยู่ 20 เปอร์เซ็นต์ สำหรับในเขตพื้นที่ สำนักงานชลประทานที่12 ซึ่งจะมีปริมาณฝนค่อนข้างน้อย ด้านการเกษตรส่วนใหญ่ ได้อาศัยน้ำจากเขื่อนหลักทั้ง 4 แห่ง คือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาณน้ำรวมกัน ประมาณ 8,000 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 33 ของปริมาณความจุอ่างโดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 1,500 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 9 ของปริมาณ ความจุอ่าง ซึ่งปัจจุบันทั้ง 4 เขื่อนหลักมีการระบายน้ำรวมวันละประมาณ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นอัตราปกติของช่วงฤดูฝน ซึ่งด้านการเกษตรในขณะนี้ได้ใช้น้ำจากระบบชลประทานทั้งหมดเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้บางพื้นที่อาจจะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำบ้าง แต่บางพื้นที่ก็ยังมีน้ำพอเพียงสำหรับความต้องการ

นอกจากนี้ทางกรมชลประทาน ได้มีข้อสั่งการให้ สำนักงานชลประทานที่12 สั่งการให้โครงการชลประทานในสังกัด จัดรอบเวรการบริหารจัดการน้ำให้เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชอยู่ในขณะนี้ และยังขอความร่วมมือกับเกษตรกรที่ยังไม่ได้ทำการเพาะปลูกให้ทำการงดออกไปก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อพืชผลทางการเกษตรหากเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำของระบบชลประทาน ทั้งนี้สำนักงานชลประทานที่12 ได้ประสานขอความร่วมมือกับกลุ่มผู้ใช้น้ำตามคลองส่งน้ำของชลประทานสายต่างๆ ให้ใช้น้ำตามข้อตกลงที่ได้มีการตกลงกันเอาไว้เนื่องจากปริมาณน้ำในขณะนี้มีจำนวนจำกัด และหากเกษตรกรละเมิดข้อตกลงอาจส่งผลกระทบต่อรอบการส่งน้ำเป็นวงกว้างและจะเกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดในที่ลุ่มเจ้าพระยา









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.