เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



เปิดหมดเปลือก! "ปางช้างแม่สา" กับการเริ่มต้น และการเปลี่ยนแปลงเมื่อโลกเปลี่ยนไป (ชมคลิป)


2 พ.ย. 2563, 18:23



เปิดหมดเปลือก! "ปางช้างแม่สา" กับการเริ่มต้น และการเปลี่ยนแปลงเมื่อโลกเปลี่ยนไป (ชมคลิป)




วันนี้ ( 2 พ.ย.63 ) ออกมาเป็นอีพีที่ 2 แล้วสำหรับ TheChangStory ซึ่งในอีพีนี้ คุณอัญชลี กัลมาพิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปางช้างแม่สา จำกัด มาจะเล่าที่มาที่ไปในการสืบทอดงาน "ปางช้างแม่สา" อย่างเต็มตัว ทั้งการเริ่มต้น และการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเมื่อโลกเปลี่ยนไป 

โดยคุณอัญชลี เปิดเผยว่า ถึงการ "เปลี่ยนแปลง" ว่า หลังจากสืบทอดปางช้างแม่สามาจากบิดา เข้ามาเป็นผู้บริหารเต็มตัวต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ตามยุคสมัย ดังเช่น หลายๆที่งดการแสดงช้าง บางที่งดขี่ช้าง และที่สำคัญต้องยอมรับว่า ณ ปัจจุบันปางช้างแม่สาไม่ได้เป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวเหมือนกับอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากเทรน ความคิดของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนไป อะไรก็ตามในเชิงการบริหารที่ทำวนซ้ำไปซ้ำมาเป็น 10-20 ปี คนก็เบื่อไม่เว้นแม้กระทั่งตัวเรา เราจึงเรียนรู้การอยู่กับช้าง ณ ปัจจุบัน ซึ่งไม่ต้องทำอะไรมากปล่อยช้างอยู่ตามธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น มันง่ายกว่าเดิมเยอะเลย ง่ายกับทั้งช้างและคน จึงมีคำถามว่าทำไมเราไม่ทำ?

"โฉมใหม่ของปางช้างแม่สา" หลังจากเราปรับเปลี่ยน เราก็ได้เจอช้างที่อยู่ในมิติที่ถูกใจคนส่วนใหญ่ ซึ่ง ณ ขณะนี้ความรู้สึกคนถึงการนำช้างมาใช้งานเหมือนสมัยก่อนมันต้องปรับเปลี่ยน เราจึงงดการแสดงช้าง งดการนั่งแหย่ง เริ่มปลดโซ่ ให้อิสระภาพช้าง จนถึงปัจจุบันก็ประสบความสำเร็จในการปลดโซ่ช้างไปได้แล้วบางส่วน ปัญหาที่ตามมาคือเรื่องบริเวณ เราก็ต้องจัดหาที่ทางให้ช้างได้มีที่เดินเล่นวิ่งเล่น เราจะไม่จัดเค้าอยู่ในคอกตลอดเวลา จึงได้มาเจอสถานที่ที่หนึ่งที่เหมาะสม ในอดีตเคยใช้เป็นศูนย์อภิบาลช้างไทยของปางช้างแม่สา ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น TheChang ซึ่งช้างปลดโซ่ของเรามีหลายรุ่น ตั้งแต่รุ่นเยาว์ถึงโตเต็มวัย ณ พื้นที่ตรงนี้ก็จะทำให้ตัวช้างเองได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มีบริเวณที่เพียงพอในการใช้ชีวิต ที่นี่จึงเปลี่ยนเป็น "ดินแดนของช้างที่ปลดโซ่แล้ว" 



"The Chang Village" แต่เดิมเป็นหมู่บ้านชนเผ่าโต้งหลวง ในอดีตเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการเที่ยวชมปางช้างแม่สา เป็นหมู่บ้านที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์มารวมกัน และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในแต่ละชนเผ่า เราจึงเซ็ตหมู่บ้านนี้ขึ้นมาใหม่ และย้ายช้างสูงอายุ ช้างชรามากๆ เข้ามาและทำบ้านอยู่บริเวณด้านหลัง The Chang Village ให้พื้นที่ที่เป็นดอยให้กับช้างกลุ่มนั้น เพราะมีความเหมาะสมในหลายสิ่ง ประกอบกับเรามีที่นาประมาณ 15 ไร่ เราก็เปลี่ยนจากการปลูกข้าวเจ้ามาเป็นปลูกข้าวเหนียวเลี้ยงช้างด้วยเกษตรอินทรีย์ โดยใช้มูลช้างอินทรีย์ ซึ่งมีความลงตัว และลดค่าใช้จ่ายค่าอาหารช้างได้จริง

"สิ่งที่เจอใน The Chang Village" อย่างแรกเป็นความสวยงามมาเป็นอันดับหนึ่ง หมู่บ้านชนเผ่าอยู่ในจุดที่ภูเขาโอบล้อม และยังมีนาข้าวที่สวยงาม ประกอบกับอากาศธรรมชาติเย็นสบาย ที่สำคัญยังไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มายิ่งเป็นคนชอบถ่ายรูป อยากมาสัมผัสบรรยากาศภาคเหนือ เหมาะสมที่สุด







Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.