ปภ. ปรับปรุงจังหวัดในความรับผิดชอบของศูนย์ ปภ.เขต เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสาธารณภัยเชิงพื้นที่
22 ม.ค. 2564, 10:39
วันที่ 22 ม.ค. 64 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ปรับปรุงจังหวัดในความรับผิดชอบของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตรองรับความเปลี่ยนแปลงจากหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการสาธารณภัย ทั้งสภาพความเสี่ยงภัยความถี่ของการเกิดภัย และรูปแบบของภัยที่มีความซ้ำซ้อน เพื่อเสริมสร้างกลไกการบริหารจัดการสาธารณภัยในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งอย่างรอบด้านและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดสาธารณภัยในเชิงพื้นที่ผ่านกลไกการทำงานของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ศูนย์เขต จึงได้มีการทบทวนและปรับปรุงจังหวัดในความรับผิดชอบของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งการจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัด โดยในการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ได้พิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ระยะทางระหว่างจังหวัดกับศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สภาพภูมิศาสตร์ ภูมิสังคม สภาพความเสี่ยงภัย และลักษณะภัยในพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี มีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 3 ปราจีนบุรี มีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว นครนายก และสระบุรี
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และราชบุรี
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 5 นครราชสีมา มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 6 ขอนแก่น มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 7 สกลนคร มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และบึงกาฬ
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 8 กำแพงเพชร มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และตาก
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และลำพูน
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และชุมพร
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลา มีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 13 อุบลราชธานี มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และยโสธร
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 14 อุดรธานี มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี เลย หนองคาย และหนองบัวลำภู
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 เชียงราย มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน แพร่ และพะเยา
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 16 ชัยนาท มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี และอุทัยธานี
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 17 จันทบุรี มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ชลบุรี ระยอง และตราด
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ภูเก็ต มีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต ระนอง พังงา กระบี่ และตรัง