"ผู้ว่าฯเลย" ปลื้ม ! ผลการลดเผาอ้อย - ถางป่า ทำให้ "PM 2.5" ลดลงได้กว่าครึ่ง
27 ม.ค. 2564, 12:49
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดเลย ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว จะมีเกษตรกรทำการเผาอ้อยเพื่อตัดส่งโรงงาน จนทำให้เกิดปัญหา PM 2.5 นั้นมีประมาณมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศใทย แต่ในช่วงเวลาปีที่ผ่านมานี้มีการรณรงค์อย่างหนักในกระบวนการจัดการ การให้ความรู้ การนำตัวช่วยในรูแบบต่างๆ การใช้เครื่องจักร การใช้แรงงานมากขึ้น เข้ามาเพื่อลดปัญหา PM 2.5 ให้น้อยลง ประกอบกับการรณรงค์อย่างหนักในเรื่องการเผาอ้อยจนปีนี้เป็นที่พอใจใจ ระยะหนึ่งถึง ปํญหาเหล่านี้
นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ลงพื้นที่ เป็นประธานกิจกรรมรณรงค์แก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่สมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อยจังหวัดเลย บริษัทน้ำตาล ขอนแก่น จำกัด (มหาชน) สาขาวังสะพุง ต.หนองหญ้าป้อง อ.วังสะพุง จ.เลย โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมรับชมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า เรื่องของการเผาทำลายไม่ว่าจะเป็นก่อนการผลิตหรือหลังผลิตหรือในระหว่างเก็บเกี่ยวผลผลิต ในปีนี้ดูจากข้อมูลที่ทางอุตสาหกรรม เรื่องหลักการจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลของประเทศไทย สถานการณ์ pm2.5 โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับอ้อยในจังหวัดเลย สถานการณ์การเผาอ้อยในพื้นที่ปีที่แล้ว ภาพรวมจังหวัดเลยทั้งสิ้น51% ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่เรามีความก้าวหน้าในการทำงาน แต่จากความเป็นจริงแล้วนั้นยังมีข้อกังวล แม้ว่าตัวเลขจะลดลงก็แล้วแต่จะมีผลกระทบระดับใหญ่ที่สุดคือ การสร้างก๊าซเรือนกระจกต่างๆ และเรื่องที่ใกล้ตัวคือเรื่อง pm2.5 หรือหิมะดำ ในปีนี้เรามีผลกระทบมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของแรงงานซึ่ง เป็นผลกระทบที่ในพื้นที่แก้ไม่ได้ เพราะแรงงานตรงนี้เรายังอาศัยแรงงานต่างด้าว ที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านทำงาน แต่เนื่องจากโควิด19 เข้ามา วันนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าในโอกาสข้างหน้าจะเกิดอะไร ดังนั้นเราจะต้องอาศัยนวัตกรรมเทคโนโลยีมาช่วย ดำเนินชีวิตขอให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวข้องการผลิตอ้อยการนำอ้อยที่จะเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม
ด้านนายประยูร อรัญรุท นายอำเภอวังสะพุง กล่าวเพิ่มเติมว่า ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จังหวัดเลย มีพื้นทั้งหมด 7,140,382 ไร่ เป็นพื้นที่กรเกษตร 2,554,818 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 35.77 เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวนาปี อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล พืชผักและไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น พบปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ ได้แก่ อ้อยโรงงานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และฟางข้าว พื้นที่ประมาณ 1 ล้านไร่เศษ ก่อให้เกิดหมอกควันและฝันละออง PM 2.5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งอ้อยโรงงาน มีพื้นที่ปลูกกว่า 278,958 ไร่ ที่มักประสบปัญหาต้นทุนการเก็บเกี่ยวอ้อย จากการขาดแคลนแรงงาน ทำให้เกษตรกรหันมาใช้วิธีการเผาใบอ้อย ก่อให้เกิดปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 มีปริมาณแนวโน้มสูงขึ้นในทุกๆปี
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหในพื้นที่จังหวัดเลย ให้เป็นจังหวัดต้นแบบปลอดการเผาอ้อยและตัดอ้อยสด รวมทั้งส่งเสริมเกษตรกรให้ตระหนักและเห็นความสำคัญถึงผลกระทบที่เกิดจากการเผาในพื้นที่การเกษตร พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพความรู้เกษตรกรให้ปลอดการเผา จึงนำเสนอทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการผา การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาเพื่อสร้างต้นแบบให้เกษตรหยุดผาอ้อย โดยการจัดกิจกรรมการรณรงค์แก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการรงค์แก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเป็นจำนวนมาก