"เผ่ามันนิ" เรียนรู้ เพาะเห็ด-เลี้ยงปลา-ปลูกผักผลไม้ สร้างแหล่งอาหารที่ยั่งยืน
20 ก.พ. 2564, 20:42
วันที่20 กพ 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หมู่ที่10 บ้านนาใน ต.น้ำผุด อ.ละงู จ.สตูล ที่บริเวณ ทับมันนิ โดยบริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ10ไร่ มีชาวมันนิอาสัยอยู่ทั้งหมดประมาณ50คน เป็นกลุ่มของกำนันไข่ ที่ผ่านมา ความเป็นอยู่ของมันนิกลุ่มนี้ค่อนข้างจะลำบาก เนื่องจากแหล่งที่เป็นอาหาร หรือของป่าที่มันนิกลุ่มนี้ใช้เป็นแหล่งอาหารเริ่มหายาก จะมีเพียงแต่สิ่งของที่นักท่องเที่ยวนำไปให้พอได้กินได้ใช้ไปวันๆ แต่เมื่อหมดฤดูการท่องเที่ยวหรือเข้าสู่ฤดูฝนกลุ่มมานิกลุ่มนี้ก็ต้องพบกับความลำบากอีก อาศัยขุดเผือก ขุดมันมากินกันเหมือนวิถีชีวิตที่ผ่านมาแตกต่างก็คือแหล่งอาหารที่ลดน้อยลง แต่ประชากรของมานิเพิ่มมากขึ้น แต่วันนี้ มันนิกลุ่มนี้ไม่กลัวความลำบากอีกต่อไป เมื่อสามารถผลิตแหล่งอาหารที่ยั่งยืนได้ โดยการเลี้ยงปลา ปลูกผัก เพาะเห็ด ปลูกผลไม้ยืนต้นเช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ นายแอ็ด ศรีมะนัง หนึ่งในสมาชิกชนเผ่ามันนิ พาผู้สื่อข่าวลงพื้นที่เยี่ยมชมทั่วบริเวณพื้นที่ โดยแบ่งเป็นโรงเพาะเห็ด สวนผัก สวนผลไม้ บ่อเลี้ยงปลา
นายแอ๊ดเล่าว่า ทุกวันนี้ ทางสมาชิกในชนเผ่าก็อาศัยเก็บเห็ดที่ นำปลาที่เลี้ยง เก็บผักสวนครัวที่ปลูกไว้ มีถั่วฝักยาว ฟักเขียว พริก และอีกหลายๆอย่างมาประกอบอาหาร มีบ่อเลี้ยงปลาสองบ่อ แยกเป็นปลานิล1บ่อ ปลาดุก1บ่อ สามารถนำมาประกอบอาหารและนำมาขายให้นักท่องเที่ยวเพื่อเก็บเงินไว้เป็นทุนต่อยอดเช่นเดียวกับเห็ดนางฟ้า เก็บกิน เหลือก็ได้ขาย ทำให้ทุกวันนี้พวกเขาไม่จำเป็นต้องออกไปล่าสัตว์ไกลๆอีกต่อไปเพราะสามารถสร้างแหล่งอาหารไว้ไกล้บ้านได้ และในวันเดียวกันนี้ สมาชิกผู้ชายของเผ่าก็กำลังร่วมมือร่วมใจกันทำบ่อปลาบ่อที่สาม โดยการขุดบ่อสามารถทำได้ง่ายๆ เพราะบริเวณนั้นเป็นแหล่งที่มีตาน้ำไหลลงจากภูเขา แค่รื้อก้อนหิน มาทับซ้อนกัน เอาดินมาทับอีกชั้น น้ำก็จะซึมออกมาเองตามธรรมชาติ การเลี้ยงปลาดังกล่าวเหมือนเลี้ยงโดยระบบน้ำไหลเวียน เพราะมีน้ำไหลเข้าและไหลออกจากบ่อปลาตลอดเวลา ทำให้ปลาโตเร็ว และรสชาตอร่อย ไม่มีกลิ่นสาป
นางสาวณัฐนันท์ โอมเพียร ครูจิตรอาสา ที่ดูแล และให้ความรู้ชนเผ่ามานิกล่าวว่า จากที่เมื่อก่อน ชาวมานิจะต้องเข้าป่าล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร ช่วงหลังๆนี้สัตว์ป่าก็หายาก ทำให้ลำบากในเรื่องของอาหาร แต่วันนนี้เขามีแหล่งอาหารที่ยั้งยืนโดยการเลี้ยงปลาเพาะเห็ด ปลูกผัก ผลไม้ที่กินได้ มีกล้วย มะละกอลิ้นจี่ มีเงาะ มีทุเรียนเรียกได้ว่าทั่วบริเวณกว่า10ไร่ตรงนี้เป็นแหล่งอาหารที่สามารถนำมากินได้ทุกอย่าง เหลือจากกินก็มาขายให้นักท่องเที่ยว บวกกับสมุนไพรต่างๆ น้ำผึ้งรวงตามฤดูการที่มันนิไปหามา และยังมีเครื่องจักสานที่สามารถนำมาขายเพื่อเก็บไว้เป็นต้นทุนสำหรับเลี้ยงปลาหรือเพาะเห็ดต่อไป ครูณัฐ กล่าวต่อว่า การเปลี่ยนแปลงของชนเผ่ามันนิในวันนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกเขา ชาวมันนิยังเข้าป่าหาสมุนไพร ขุดเผือกขุดมันมาเหมือนเมื่อก่อน แต่ยกเว้นในเรื่องของการล่าสัตว์ที่ทุกวันนี้สัตว์ป่าก็หายาก นอกจากนี้ในเรื่องของการศึกษา ทุกคนในชนเผ่าสามารถอ่านออก เขียนได้ทุกคน ยกเว้นกำนันไข่คนเดียวที่บอกว่าตัวเองแก่เกินเรียน ให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้ไว้ก็พอ สำหรับความเปลี่ยนแปลงอีกอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ความสะอาดของบริเวณที่พัก มันนิมีถังขยะไว้ทิ้งและเผาทำลาย มีห้องน้ำห้องส้วมไว้ใช้อย่างชัดเจน ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ถ้าจะปล่อยหนักต้องเข้าป่า ทำให้มุมมองของบริเวณทั่วไปในชนเผ่าสะอาดตา อย่างเห็นได้ชัด