เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"ผู้ว่าฯสุรินทร์" เปิดโรงพยาบาลสนาม 100 เตียง ภายในศูนย์ปฏิบัติธรรม รองรับผู้ป่วยโควิค -19


23 เม.ย. 2564, 06:47



"ผู้ว่าฯสุรินทร์" เปิดโรงพยาบาลสนาม 100 เตียง ภายในศูนย์ปฏิบัติธรรม รองรับผู้ป่วยโควิค -19




วันนี้ 22 เม.ย. 64 พื้นที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดกลางบ้านละเอาะ ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยนายแพทย์ประวีณ ตัณฑประภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ พร้อมส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันเปิดโรงพยาบาลสนาม เพื่อรับผู้ป่วยโควิค 19 ในพื้นที่สุรินทร์เข้ารับการรักษา หากจำนวนผุ้ป่วยโควิค 19 ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์มีจำนวนมากจนโรงพยาบาลสุรินทร์ไม่สามารถรองรับได้เป็นโรงพยาบาลสนาม ขนาด จำนวน 100 เตียง โดยแบ่งเป็นหอผู้ป่วยชาย 50 เตียงและหญิง 50 เตียง ในการรองรับผู้ป่วย ซึ่งจังหวัดสุรินทร์ ล่าสุดขณะนี้มีผู้ป่วยโควิค-19 สะสมที่ 51 ราย กระจายรับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์และโรงพยาบาลในแต่ละพื้นที่ และพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้น ซึ่งโรงพยาบาลสนามแห่งนี้เป็นแห่งแรกของจังหวัดสุรินทร์ และมีความพร้อมในทุกด้านที่จะรองรับผู้ป่วย โดยผู้ป่วยที่เข้ามารักษาจะต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลก่อน หลังจากนั้นแพทย์จะประเมินและส่งตัวเข้ามารักษาต่อที่โรงพยาบาลสนามดังกล่าว ซึ่งภายในวันพรุ่งนี้ 23 เมษายน 2564 ก็จะสามารถส่งต่อผู้ป่วย เข้ารักษาที่โรงพยาบาลสนามแห่งนี้ได้ทันที




นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า เพิ่มเติมว่าการเปิดโรงพยาบาลสนามเป็นความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน โดยผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสุรินทร์ก่อน จากนั้นจะมีการประเมินและส่งต่อมารักษายังโรงยาบาลสนาม ซึ่งใช้ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดกลางบ้านละเอาะ ตำบลเฉยีง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจะรับได้ 100 เตียง เป็นแห่งแรกของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีความพร้อมในทุกด้าน

ในส่วนของสถานการณ์โรคโควิค -19 ในพื้นที่จังหวีดสุรินทร์ ทางจังหวัดได้เข้มงวดในทุกมาตรการตามที่ ศบค.ส่วนกลาง ได้กำหนด รวมทั้งในส่วนของคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดสุรินทร์ ที่ออกมาตรการอย่างเข้มข้น เพื่อดูแลพี่น้องประชาชนอย่างเต็มที่ ซึ่งได้ออกคำสั่งไปหมดแล้ว เพียงแต่ว่าในวันนี้ เรายังคงหลงเหลือผู้คนที่เดินทางจากจังหวัดอื่นเข้ามา ก็จะเป็นคนสุรินทร์ที่ไปทำงานต่างจังหวัดแล้วเข้ามา โรคนี้เป็นที่ทราบดีว่าจะไม่ค่อยมีอาการ ส่วนมากจะไม่เข้าบ้าน ไปพักตามโรงแรมหรือรีสอร์ทต่างๆ แล้วไปเยี่ยมญาติ ซึ่งก็ได้ประชาสัมพันธ์ไปและแจ้งพื้นที่ให้ช่วยดูแลคนที่กลับจากทางจังหวัด แต่ก็ยังมีเล็ดลอดอยู่บ้าง จุดนี้ที่น่าเป็นห่วง ก็ได้แจ้งไปทุกที่ให้ช่วยกันดูแล โดยเฉพาะประชาชนสำคัญที่สุด ซึ่งจะต้องช่วยกัน ด้านภาครัฐเองก็ดูแลเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นทางกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม.พร้อมด้วย หมอตามโรงพยาบาลต่างๆ รวมทั้งฝ่ายปกครองได้ช่วยกันดูแลอย่างเต็มที่ ในคำสั่งล่าสุดตลาดนัดโค-กระบือ ก็ห้ามซื้อขายแล้ว รวมไปถึงห้างร้านต่างๆที่สุ่มเสี่ยงก็ปิดทั้งหมด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด เชื่อว่าหลังจากนี้ 2-3 วัน ผู้ป่วยที่เข้ามาในพื้นที่กลับหมดแล้ว ไม่มีเพิ่มมากขึ้น คิดว่าทางผอ.โรงพยาบาลและทางสาธารณะสุขจะสามารถดูแลและรับมือได้



ด้านนายแพทย์ประวีณ ตัณฑประภา ผอ.โรงพยาบาลสุรินทร์ กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลสนามในขณะนี้มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรทางการแพทย์และระบบต่างๆ เครื่องมือพร้อมที่จะรองรับผู้ป่วยเข้ามารักษา ซึ่งจังหวัดสุรินทร์ ยอมรับว่าขณะนี้จำนวนผู้ป่วยสูงขึ้น โดยผู้ป่วยที่จะเข้ามายังโรงพยาบาลสนาม จะต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลสุรินทร์ก่อน หากจำนวนผู้ป่วยมากเกินกว่าที่โรงพยาบาลสุรินทร์จะรับได้ แพทย์จะประเมินและส่งมารักษาตัวที่โรงพยาบาลสนามแห่งนี้ต่อไป

ส่วนเรื่องของวัคซีน ทางโรงพยาบาลได้รับจากกระทรวงสาธารณสุขในล็อตแรก ทางโรงพยาบาลได้ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ ประชาชนที่มีความเสี่ยง และเจ้าหน้าที่หน้าด่านหน้าเช่นทหารตำรวจ ไปทั้ง 2 ครั้งแล้ว โดยจัดฉีดที่โรงพยาบาลสุรินทร์จำนวน 700-1,000 รายต่อวัน โดยวัคซีนที่ได้มาล็อตที่ 2 จำนวน 8,000 โดส และฉีดไปหมดแล้ว จนถึงขณะนี้ยังไม่พบผู้ที่รับการฉีดไปแล้ว มีอาการค้างเคียงเกิดขึ้นแต่อย่างใดแต่ก็ได้ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และในเดือนมิถุนายนนี้ จะมีการฉีดวัคซีนเซนิก้า ซึ่งจะใช้สถานที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์เป็นสถานที่ฉีดวัคซีน คาดว่าจะสามารถฉีดให้ได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 2 พันราย







Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.