ด่วน ! "ผู้ว่าฯนครปฐม" สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เลี่ยงโควิด-19
24 เม.ย. 2564, 10:26
วันที่ 24 เมษายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดนครปฐม ลงนามในประกาศจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 51/2564 เรื่องปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว โดยระบุว่า
โดยที่จังหวัดนครปฐมได้มีประกาศฉบับที่ 48 /2564 ลงวันที่ 10 เมษายน 2564 เรื่อง ให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 10 - 23 เมษายน 2563 เนื่องจากยังพบการแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVI. - 19 ในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับบุคคลที่เดินทามาจากเขตพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD - 19)ส่วนใหญ่ยังไม่ปรากฏอาการ เป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่ระบาดออกไปในลักษณะที่เป็นกลุ่มก้อน จึงจำเป็นต้องป้องกันการแพร่ระบาดต่อไปอีกช่วงระยะหนึ่งจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 มาตรา 35 (1 ) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 11 ) ลงวันที่ 30 มีนาคม 2564 ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 30 มีนาคม 2564 ประกอบกับอาศัยอำนาจตาม ความของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20 ) ลงวันที่ 16 เมษายน 2564
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครปฐม ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 26 /2564 เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564 จึงประกาศไว้ดังนี้
1. ให้ปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอาบอบนวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เป็นการชั่วคราว
2. ให้ผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร ผู้สัมผัสอาหาร ผู้ปฏิบัติงานในร้านอาหาร ผู้ซื้อ และผู้บริโภค ปฏิบัติตามมาตรการแนวทางสำหรับสถานประกอบการด้านอาหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามแนบท้ายประกาศนี้โดยเคร่งครัด
หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดตามมาตรา 5 - แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1 ) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง