เตือน 63 พื้นที่เสี่ยงฝนกระหน่ำ ลมกระโชกแรง แดงเถือก 20 จังหวัด
27 เม.ย. 2564, 09:15
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ประจำวันที่ 27 เมษายน 2564 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึงเวลา 06.00 น. วันที่ 28 เมษายน 2564 โดยจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, น่าน, แพร่, ลำปาง, ลำพูน, ตาก, สุโขทัย, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, กำแพงเพชร, อุทัยธานี, ชัยนาท, นครสวรรค์, พิจิตร, เพชรบูรณ์, ชัยภูมิ (พื้นที่สีแดง), เลย (พื้นที่สีแดง), หนองคาย (พื้นที่สีแดง), บึงกาฬ (พื้นที่สีแดง), นครพนม (พื้นที่สีแดง), สกลนคร (พื้นที่สีแดง), อุดรธานี (พื้นที่สีแดง), หนองบัวลำภู (พื้นที่สีแดง), ขอนแก่น (พื้นที่สีแดง), กาฬสินธิ์ (พื้นที่สีแดง), มุกดาหาร (พื้นที่สีแดง), ยโสธร (พื้นที่สีแดง), ร้อยเอ็ด (พื้นที่สีแดง), มหาสารคาม (พื้นที่สีแดง), อำนาจเจริญ (พื้นที่สีแดง), อุบลราชธานี (พื้นที่สีแดง), ศรีสะเกษ (พื้นที่สีแดง), สุรินทร์ (พื้นที่สีแดง), บุรีรัมย์ (พื้นที่สีแดง), นครราชสีมา (พื้นที่สีแดง), ลพบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, ราชบุรี
สระบุรี, นครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สมุทรปราการ, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร
ด้วยในช่วงวันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2564 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้ และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง
หลังจากนั้น ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
จึงขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย