คืบหน้าไปมาก! รถไฟความเร็วสูงโคราช คาดจะได้ใช้ปี 2569
29 เม.ย. 2564, 17:25
เพจ โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure อัปเดตความคืบหน้าโครางการ รถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพ-นครราชสีมา โดยรายละเอียดโครงการ มีดังนี้ คือ ใช้ความรถไฟความเร็วสูงรุ่น CR300AF มีระยะทาง 250.77 กิโลเมตร ใช้ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 90 นาที ความเร็วเฉลี่ย 166 กิโลเมตร/ชั่วโมง ค่าโดยสารชั้น 2 (ชั้นทั่วไป) สูงสุดประมาณ 536 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 2.1 บาท
ภายในโครงการแบ่งทางวิ่งเป็น 3 รูปแบบคือ
- ทางวิ่งระดับดิน มีระยะทางรวม 54.09 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ มีระยะทางรวม 188.68 กิโลเมตร
- อุโมงค์ มีระยะทางรวม 8 กิโลเมตร
รวมระยะทางในโครงการทั้งหมด 250.77 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทาง 90 นาที
โดยในโครงการมีสถานีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่
- สถานีกลางบางซื่อ
- สถานีดอนเมือง
- สถานีอยุธยา
- สถานีสระบุรี
- สถานีปากช่อง
- สถานีนครราชสีมา
มีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ และบำรุงทาง ทั้งหมด 3 แห่งคือ
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และศูนย์ควบคุม เชียงรากน้อย
- ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง สระบุรี และ โคกสะอาด
สัญญางานโยธาทั้ง 10 สัญญา ที่เซ็นไปแล้ว จากทั้งหมด 14 สัญญา
ก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา คือ ช่วงกลางดง-ปางอโศก โดยกรมทางหลวง ซึ่งเป็น Site ทดลองปรับวัสดุภายในประเทศ
เริ่มก่อสร้างไปมากแล้ว 1 สัญญา คือ สัญญา 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร แบ่งเป็นงาน
- ทางวิ่งระดับดิน 6.7 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ 4.2 กิโลเมตร
- อาคารศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยโคกสะอาด
มูลค่าการก่อสร้างรวม 3,114 ล้านบาท
ก่อสร้างโดย บริษัท ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
ซึ่งจากรายงานล่าสุด ความคืบหน้าของโครงการช่วงนี้ เสร็จไปแล้ว 58% ณ วันที่ 23 เมษายน 64
สัญญาใหม่ที่เพิ่งเซ็นสัญญาไป 8 สัญญา
- สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง)
ดำเนินการโดย บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างอุโมงค์ยาวรวม 8 กิโลเมตร และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.23 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-3 งานโยธาสำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง
ดำเนินการโดย บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งมีงานก่อสร้างสถานีปากช่อง และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 26.10 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด
ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจุดเด่นคือ มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางยาวที่สุดในโครงการ ถึง 37.45 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-5 งานโยธาสำหรับช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา
ดำเนินการโดย บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัท บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย)
ซึ่งเป็นงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.38 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย
ดำเนินการโดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างสถานีสระบุรี และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.99 กิโลเมตร
และได้เซ็นสัญญา เพิ่มอีก 3 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา คือ
- สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ วงเงินก่อสร้าง 11,525,350,500 บาท
เป็น งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ ประกอบด้วย
- งานโครงสร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับ 23 กม.
- งานก่อสร้างทางวิ่งเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายรางและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ
- สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงินก่อสร้าง 6,573,000,000 บาท
เป็นงานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นในศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารภายในศูนย์ซ่อมบำรุงรวมถนนต่อเชื่อม ได้แก่
- อาคารระบบซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ 19 อาคาร
- อาคารควบคุมระบบการจัดการเดินรถและฝึกอบรม 4 อาคาร
- อาคารสำหรับระบบซ่อมบำรุงทาง 8 อาคาร งานก่อสร้างถนนงานระบบระบายน้ำและงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ
- สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี วงเงินก่อสร้าง 9,428,999,969.37 บาท
เป็นงานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟ ระยะทางรวม 31.60 กม. แบ่งเป็น
- คันทางระดับดิน 7.02 กม.
- ทางยกระดับ 24.58 กม.
งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า 7 แห่ง รวมทั้งงานรื้อย้ายสถานีเดิม งานปรับปรุงย้ายถนนเดิม งานก่อสร้าง สะพานข้ามทางรถไฟ งานระบบระบายน้ำ และงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่าง
ซึ่งสรุปคือ ตอนนี้เหลือรอเซ็นสัญญาอีก 3 สัญญา ถ้าเร่งให้เซ็นได้ภายในปีนี้ คาดว่าจะได้ใช้ปี 2569
ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure