ศบค.เผย คลัสเตอร์คลองเตย 12 ชุมชน เดือนเม.ย.พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่ง 304 ราย
3 พ.ค. 2564, 13:50
ความคืบหน้าสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศไทย วันนี้ (3 พ.ค.64) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) รายงานว่า กรุงเทพฯ ยังเป็นจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูง โดยเฉพาะยอดการตรวจหาผู้ติดเชื้อในชุมชนคลองเตย ซึ่งมีประชาชนในชุมชนประมาณ 8-9 หมื่นราย จากการทำการตรวจเชิงรุก พบว่า มีอัตราการติดเชื้อประมาณ 5-10% ที่โรงพยาบาลจุฬา พบผู้ป่วยปอดอักเสบจากชุมชนคลองเตยที่มารักษาตัวมากขึ้น
การระบาดของไวรัสโควิดเดือน เม.ย.ในเขตคลองเตย อยู่ที่ 304 ราย แบ่งเป็นผู้อาศัยในแหล่งชุมชนแออัด 193 รายส่วนอีก 111 ราย อาศัยอยู่ในแหล่งอื่นๆ เช่น คอนโด หอพัก เป็นต้น โดยพบผู้ติดเชื้อ 12 ชุมชนในเขตคลองเตย ประกอบด้วย
1.ชุมชนตลาดท่าเรือคลองเตย มีประชากรประมาณ 5,000 คน พบติดเชื้อ 7 คนคิดเป็น 0.14%
2.ชุมชนพัฒนาใหม่ มีประชากรประมาณ 1,469 คน พบติดเชื้อ 78 คนคิดเป็น 5.31%
3.ชุมชนวัดคลองเตยใน 2 มีประชากรประมาณ 2,028 คน พบติดเชื้อ 14 คนคิดเป็น 0.69%
4.ชุมชนร่มเกล้า 2 มีประชากรประมาณ 2,170 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.09%
5.ชุมชนแฟลต 1-10 มีประชากรประมาณ 10,490 คน พบติดเชื้อ 6 คนคิดเป็น 0.06%
6.ชุมชนแฟลต 11-18 มีประชากรประมาณ 3,797 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.05%
7.ชุมชนแฟลต 19-22 มีประชากรประมาณ 2,050 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.10%
8.ชุมชนล็อค 1-2-3 หรือชุมชนร่มใจไพรินแดง มีประชากรประมาณ 8,325 คน พบติดเชื้อ 8 คนคิดเป็น 0.10%
9.ชุมชนล็อค 4-5-6 มีประชากรประมาณ 1,736 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.12%
10.ชุมชน 70 ไร่ มีประชากรประมาณ 9,685 คน พบติดเชื้อ 37 คนคิดเป็น 0.38%
11.ชุมชนหมู่บ้านมั่นคง มีประชากรประมาณ 278 คน พบติดเชื้อ 3 คน
12.ชุมชนริมคลองวัดสะพาน มีประชากรประมาณ 1,150 คน พบติดเชื้อ 17 คนคิดเป็น 1.48%
อย่างไรก็ตาม ชุมชนคลองเตยมีความเป็นอยู่ที่แออัด แยกกักตัวยาก และส่วนใหญ่ทำงานทั่วกทม. และอาชีพไม่สามารถ Work Form Home ได้ หากควบคุมคลัสเตอร์ดังกล่าวไม่ได้ก็อาจทำให้การระบาดแย่ลง จึงควรเร่งจัดให้มีการกักตัวหรือสังเกตอาการในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อลดการติดเชื้อทั้งหมดเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชนแออัดคลองเตย ที่ถือเป็นอีกหนึ่งคลัสเตอร์ที่ต้องเร่งควบคุมการระบาดในเวลานี้
ขอบคุณ กรุงเทพธุรกิจ