เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"รมว.คมนาคม" และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการบริหารงบประมาณก่อสร้างขยายผิวทางหลวงในพื้นที่ จ.สุรินทร์


19 มิ.ย. 2564, 06:32



"รมว.คมนาคม" และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการบริหารงบประมาณก่อสร้างขยายผิวทางหลวงในพื้นที่ จ.สุรินทร์




วันที่ 18 มิ.ย. 64 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารในส่วนของหน่วยงานสังกัดคมนาคม ลงพื้นที่ตรวจสอบและติดตามการก่อสร้างถนนหลวงหมายเลข 2077 ระหว่าง 18+800 ถึง 18 บวก940 สุรินทร์-ลำดวน ระยะทาง 15.50 กิโลเมตร บริเวณตำบลสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ งบประมาณกว่า 500 ล้านบาท โดยการก่อสร้างดังกล่าว เป็นการก่อสร้างเฟสแรก ระยะทาง 2 กิโลเมตร ในงบประมาณ 44 ล้านบาท โดยมีนายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ส.ส.สุรินทร์ พรรคภูมิใจไทย เจ้าหน้าที่แขวงทางหลวงสุรินทร์ และแขวงทางหลวงชนบท หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนักการเมืองท้องถิ่นให้การต้อนรับ พร้อมนำเสนอการบริหารจัดการงบประมาณและการก่อสร้างถนนสายดังกล่าว

โดยโครงการดังกล่าวเป็นการจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในการใช้รถใช้ถนน ในเส้นทางดังกล่าว โดยมีการขอสนับสนุนเพื่อให้มีการก่อสร้างขนาดถนนเป็น 4 ช่องทางจราจร ตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้มีการจัดสรรบงลงมาในการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีโครงการในการก่อสร้างและขยายถนนระหว่างช่วงถนนหลวงหมายเลข 226 สุรินทร์-ศีขรภูมิ-สำโรงทาบ ระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร งบประมาณกว่า 900 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งมีคู่สัญญาแล้ว

จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะได้เดินทางรับฟังการบรรยายสรุปการดำเนินโครงการสำคัญเร่งด่วนของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางบก และกรมเจ้าท่า ที่ห้องประชุมวีรพลปัทมานนท์ แขวงทางหลวงสุรินทร์ โดยมีนายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ส.ส.สุรินทร์ พรรคภูมิใจไทย และนายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ร่วมประชุมด้วย




นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า มาติดตามการบริหารงบประมาณ ซึ่งในภาพรวมหน่วยงานต่างๆที่รับผิดชอบได้บริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ตรงเป้าหมายที่รับโจทย์มาจากกระทรวงฯและรัฐบาล นอกจากนี้ยังได้มีการพูดคุยถึงประเด็นทำอย่างไรในเรื่องของการก่อสร้างที่ได้รับงบประมาณมาเน้นในเรื่องของการตรวจคุณภาพ เพราะการที่ใช้งบประมาณทุกบาททุกสตางค์เป็นภาษีของประชาชน ดังนั้นจะต้องใช้อย่างคุ้มค่า

จากการลงพื้นที่ตจรวจสอบถนนที่กำลังก่อสร้างในส่วนของจังหวัดสุรินทร์ ช่วงพื้นที่ตำบลสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ไปยังอำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ ระยะทางราว 18 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 500 กว่าล้านบาท ซึ่งในเบื้องต้นก็มีการดำเนินการไปตามเป้าหมาย ในโครงการเฟสแรกเริ่มก่อสร้าง 2 กิโลเมตร ใช้งบประมาณจำนวน 44 ล้านบาท ดำเนินการไปแล้วประมาณ 60% โดยจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฏาคมนี้ซึ่งตนได้พบกับประชาชนทุกคนก็ดีใจที่ถนนเส้นนี้ เพราะต้องรอมานานมาก เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาล และกระทรวงคมนาคม พยายามที่จะตอบโจทย์ให้กับพี่น้องประชาชนทุกจังหวัด ไม่ใช่เฉพาะสุรินทร์



นอกจากนี้ยังได้ติดตามการแก้ไขปัญหาถนนที่เป็นพื้นที่ของกรมชลประทาน ซึ่งได้มอบหมายให้กรมทางหลวงชนบทเข้ามาช่วยดูแลในเรื่องผิวจราจรเนื่องจากปัญหาน้ำท่วม และปัญหาเมื่อขับขี่ถนนเลื่อนและล้มตกลงไปในคลองส่งน้ำ ซึ่งก็ได้รับรายงานจากกรมทางหลวงชนบทว่าพื้นที่ทั้งหมด 3.7 กิโลเมตรแรก มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้ว ส่วนพื้นที่ที่เหลือทางทิศใต้ประมาณ 26 กิโลเมตร กรมทางหลวงชนบทก็ได้มีการนำไปทำแผนแล้ว รวมไปถึงทางทิศเหนืออีก 6 กิโลเมตร ด้วย

 

 

 

ขณะเดียวกันทางด้านผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้มีการร้องขอในเรื่องของการสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งก็เป็นเป้าหมายที่ทางกระทรวงคมนาคาให้ความสำคัญอยู่แล้ว ซึ่งการก่อสร้างถนนเราต้องการให้เกิดความสะดวก ความปลอดภัยในการเดินทาง ได้สั่งการให้ทางอธิบดีกรมทางหลวงชนบทดำเนินการแล้ว โดยเฉพาะจัดวางแบริเอ้อ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ รวมไปถึงการระบายน้ำบนผิวถนน ที่ผ่านมาสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ พร้อมทั้งสั่งการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จของกรมและของกระทรวง ข้างล่างทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้างบนก็สามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้ ดังนั้นกระทรวงคมนาคมก็สามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายได้เร็วกว่าที่สำนักงบประมาณได้กำหนดในการเบิกจ่ายงบประมาณ ก็ถือว่าจังหวัดสุรินทร์สามารถทำงานได้ดี ข้อสำคัญก็อยากให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นรับฟังความคิดเห็นจากราษฎร ตัวแทนราษฎร เพื่อนำปัญหาเร่งด่วนมาดำเนินการแก้ไขต่อไป

ส่วนในปัญหาทางน้ำเรื่องของตลิ่งน้ำพัง ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอท่าตูมที่มีแม่น้ำมูลไหลผ่านรวมไปถึงลำน้ำชี ซึ่งก็ได้มอบหมายให้ทางด้านกรมเจ้าท่าเข้าไปสำรวจและจัดการดูแลแล้ว เป็นภาระกิจของกรมเจ้าท่า โดยงบประมาณได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ในส่วนของงบประมาณปี 2565 ซึ่งกำลังมีการประชุมพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร หากไม่ทันก็จะต้องไปใช้ในงบประมาณปี 2566

สำหรับเรื่องการประชุมวันนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นสภาผู้แทนราษฏร และตัวแทนภาคเอกชนเช่น ประธานหอการค้า ซึ่งก็ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลายเรื่อง เป็นเรื่องที่เราต้องมีการบูรณาการกันไม่ใช่เฉพาะสุรินทร์ เป็นเรื่องวของระบบโลจีสติกที่สร้างในพื้นที่ตั้งแต่นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษและอุบล ซึ่งตนก็มีเป้าหมายที่จะลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและอุบลต่อไป สำหรับเรื่องการการรประชุมวางมาตรการเปิดประเทศ โดยเฉพาะที่จังหวัดภูเกต และหลายเมืองต่อไปนั้น เรื่องดังกล่าวเป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งได้มีการพิจารณาในเรื่องของการบริหารสถานการณ์โควิค ให้มีผลในเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย โดยได้บริหารมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งในเฟสแรกพบว่ามีประสิทธิภาพขึ้นมาก การป้องกันการแพร่ระบาดจะเห็นได้ว่าประเทศไทยอยู่อันดับต้นๆของโลก แต่เมื่อมาระบาดรอบสองและสาม ก็เป็นปัญหา ซึ่งตนคิดว่าเกิดขึ้นจากประเทศไทยที่มีภูมิอาณาเขตที่มีช่องทางธพรรมชาติเข้ามาจำนวนมาก ประชาชนเพื่อนบ้านอยากเข้ามา ก็ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเข้ามา

นายกรัฐมนตรีก็มีความพยายามที่จะเร่งรัดบริหารจัดการในเรื่องของวัคซีน ซึ่งจริงๆเราต้องดูสถานการณ์ของโลกด้วย ไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่เกิดการแพร่ระบาด ดังนั้นเรื่องของวัคซีนมีบริษัทที่ผลิต เขาก็จะมีการบริหารจัดการวัคซีนของบริษัทตามที่มีการสั่งซื้อของประเทศต่างๆ ประเทศไทยก็พยายามสั่งซื้อ ซึ่งตนเคยได้รับฟังจากรองนายกรัฐมนตรี ท่านอนุทิน ชาญวีรนะกุล และท่านนายกรัฐนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เดือน 1 เราจะมีจำนวนวัคซีนประมาณ 5-6 ล้านโดส ก็ประมาณ 10% ของจำนวนประชากร ดังนั้นนายกรัฐมนตรีพยายามที่จะบริหารให้ความสำคัญในการที่จะฉีดให้กับกลุ่มต่างๆ

สำหรับการเปิดประเทศในวันที่ 1 กรกฎาคมที่จะมาถึงนี้ เป็นนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี ที่สั่งการให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อม กระทรวงคมนาคมเองเป็นหน่วยงานหนึ่งที่จะต้องดูแลในเรื่องของระบบโลจีสติกต่างๆ มี 4 มิติ ส่วนเรื่องหลักเลยก็คือเรื่องทางอากาศ จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีลักษณะเป็นเกาะ ฉะนั้นการเดินทางเข้าไปยังจังหวัดภูเกตจะมีทางเรือและทางอากาศ ทางบกก็จะมีสะพานเข้าไป ทำไมจึงต้องใช้จังหวัดภูเกต นายกรัฐมนตรีมองว่า สามารถบริหารจัดการในลักษณะภูมิประเทศได้ ซึ่งการบริหารจัดการฉีดวัคซีนให้กับชาวภูเก็ตในตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 70 % และจะฉีดให้ครบ 100 % ต่อไป ซึ่งคนที่จะเข้ามาต้องมีความปลอดภัย โดยเฉพาะทางอากาศถ้าจะเข้ามาต้องมีใบรับรองการฉีดวัคซีนครบ 2 ครั้ง และต้องผ่านกระบวนการในส่วนของสาธารณสุขเข้มงวด และนักท่องเที่ยวจะเดินทางไปยังจังหวัดอื่นไม่ได้ ในขณะเดียวกันในส่วนความพร้อมในเรื่องท่าอากาศยานสนามบินและมาตรการต่างๆอยู่แล้ว ซึ่งตนจะลงไปติดตามความพร้อมอีกต่อไป


 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.