เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



นิสิต มก.วิทยาเขตสกลนคร สุดยอดเด็กรุ่นใหม่ ผลิตรถขนวัสดุในฟาร์ม ขับเคลื่อนด้วยระบบไฮบริด


19 ส.ค. 2562, 14:40



นิสิต มก.วิทยาเขตสกลนคร สุดยอดเด็กรุ่นใหม่ ผลิตรถขนวัสดุในฟาร์ม ขับเคลื่อนด้วยระบบไฮบริด




นางสาว ธิมาพร มาลาศรี และ นายสายพุดดิน แฮแมเรีย สองนิสิตคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสกลนคร เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับนิสิตในคณะ และคณาจารย์ ทำการประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ เป็นรถขนวัสดุในฟาร์ม ขับเคลื่อนด้วยระบบไฮบริดที่มีระบบจัดการความปลอดภัย ใช้พลังงาน 3 ระบบ คือน้ำมันเบนซิน แก๊สหุงต้ม และพลังงานไฟฟ้า เพื่อพัฒนาการขนส่งวัสดุในฟาร์มขนาดเล็ก ให้ขับเคลื่อนด้วยระบบไฮบริด จากระบบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในและระบบไฟฟ้า ทั้งนี้เนื่องจากการขนส่งในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ใช้เชื้อเพลิงในการสันดาปภายในเครื่องยนต์ ในขณะที่เชื้อเพลิงนับวันจะมีราคาสูง และน้อยลงทุกวัน ทำให้เกิดการพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือกมาใช้ทดแทนเชื้อเพลิงดั้งเดิม ซึ่งก๊าซชีวภาพถือเป็นอีกหนึ่งเชื้อเพลิงทางเลือก  ที่สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน เพราะมีต้นทุนต่ำ และก๊าซชีวภาพสามารถผลิตได้เองในครัวเรือนและชุมชน

นางสาว ธิมาพร มาลาศรี กล่าวว่า มีรุ่นพี่ที่ทำเรื่องรถอยู่แล้ว จึงมาสานต่อโดยจัดทำระบบเชื้อเพลิง 3 แบบ คือน้ำมันเบนซิน ก๊าซชีวภาพ และไฟฟ้า ซึ่งเป็นการพัฒนาการทำงานของเครื่องยนต์ขนาดเล็ก 1 ลูกสูบ ยี่ห้อ Suzuki ขนาด 125 ซีซี ให้สามารถใช้น้ำมันเบนซิน ก๊าซชีวภาพและก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงได้ และเครื่องยนต์ดังกล่าวสามารถใช้เป็นต้นกำลังขับเคลื่อนรถขนวัสดุขนาดเล็กได้อีกด้วย เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงอาจต้องได้รับการดัดแปลง เพราะพบปัญหาเกิดการรั่วไหลของก๊าซชีวภาพ นอกจากการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกในเครื่องยนต์แล้ว การใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนพาหนะขนส่งกำลังได้รับการพัฒนาให้ใช้ในพาหนะหลากหลายรูปแบบ โดยการใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลังขับเคลื่อนพาหนะ การนำไฟฟ้ามาขับเคลื่อนต้นกำลังสามารถช่วยลดมลภาวะทางอากาศ เนื่องจากการลดการเผาไหม้ของเครื่องยนต์สันดาปเป็นต้น

คณะผู้จัดทำ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในการขับเคลื่อนมอเตอร์ และติดตั้งเข้ากับรถขนาดเล็ก 1 ที่นั่ง ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหามลพิษในปัจจุบัน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและช่วยประหยัดพลังงานจากเชื้อเพลิงที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ รวมทั้งคณะผู้จัดทำได้ทำการเสริมระบบการจัดการด้านความปลอดภัย สำหรับเครื่องยนต์ดัดแปลงที่ใช้ก๊าซชีวิภาพเป็นเชื้อเพลิง เพื่อลดความเสี่ยงจากเกิดอันตรายที่เกิดจากการใช้ก๊าซชีวิภาพกับเครื่องยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่ โดยใช้ระบบวัดความเข้มข้นของก๊าซชีวภาพที่เหมาะสมและแม่นยำ เพื่อปิดระบบจ่ายไฟฟ้าขดลวดจุดระเบิดของเครื่องยนต์ และโซลินอยด์วาล์ว จ่ายก๊าซชีวภาพจากถังเก็บเชื้อเพลิง ขณะเครื่องยนต์ที่เคลื่อนที่ความเร่ง ถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสกลนคร

 

 

 









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.