เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



บช.น.ร่อนหนังสือเผยเหตุรวบ "ไผ่ ดาวดิน-ผู้ชุมนุม" รวม 32 ราย ชี้ผิดกม.หลายข้อ -แจงภาพตร.ใช้ปืนจ่อหัว


2 ส.ค. 2564, 18:40



บช.น.ร่อนหนังสือเผยเหตุรวบ "ไผ่ ดาวดิน-ผู้ชุมนุม" รวม 32 ราย ชี้ผิดกม.หลายข้อ -แจงภาพตร.ใช้ปืนจ่อหัว




ตามที่รายงานไปวันนี้ (2 ส.ค.64) เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนได้เข้าทำการกระชับพื้นที่บริเวณด้านหน้ากองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด(บช.ปส.) ถนนวิภาวดีรังสิต และควบคุมตัวนายจตุภัทร์ พร้อมมวลชน จำนวนหลายคน ขึ้นรถผู้ต้องขังที่มาจอดรอรับ 

ล่าสุดมีมีรายงานว่า พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบชน./โฆษก บช.น. กล่าวว่า กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน ทำการจับกุมนายจตุภัทร์ หรือ ไผ่ดาวดิน บุญภัทรรักษา พร้อมพวก รวม 32 คน บริเวณด้านหน้ากองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด 

 



โดยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 11.00น. กลุ่มทะลุฟ้า นำโดย นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ได้นำมวลชนมาทำการชุมนุมบริเวณโดยรอบกองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด เพื่อกดดันเจ้าหน้าที่ตำรวจ เรียกร้องให้ทางการเจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัว กลุ่มผู้ที่ถูกจับกุมพร้อมรถเครื่องขยายเสียง จากการที่มีการจับกุมและตรวจยึด จากเหตุชุมนุมเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 

ต่อมาทางกลุ่มฯ ได้มีการข่มจู่ และกดดันเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างหนัก อีกทั้งบริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสนาม ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการประกาศแจ้งเตือนข้อกฏหมาย และแจ้งขอให้ยุติ การทำกิตกรรมดังกล่าว 

แต่ทางกลุ่มฯ ไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการรวมกลุ่มกันของบุคคลที่จำนวนรวมกันมากกว่า 5 คน ในพื้นที่ที่มีประกาศ หรือคำสั่งกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็บ ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกแล้วผู้ใดไม่เลิก และความผิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนจึงเข้าควบคุมสถานการณ์ และจับกุมผู้มาร่วมชุมนุม รวมทั้งหมด 32 คน ส่งพนักงานสอบสวยเพื่อดำเนินการตามกฏหมายต่อไป 

 


อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ชี้แจงกรณีภาพของเจ้าหน้าที่กองร้อยควบคุมฝูงชนใช้อาวุธปืนลูกซองจ่อศีรษะผู้ชุมนุมที่กำลังขี่รถจักรยานยนต์บนถนนวิภาวดีรังสิต ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวเป็นรูปแบบทางยุทธวิธีที่เรียกว่า cover and contact ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ต่างประเทศใช้ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงการตักเตือนผู้ชุมนุมให้กลับเคหะสถาน ซึ่งลักษณะก็ต้องปฏิบัติไปตามยุทธวิธี คือระหว่างที่มีเจ้าหน้าที่ไปเจรจา พูดคุยก็ต้องมีอีกคนคอยคุมกันอยู่แล้ว เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวกลุ่มผู้ชุมนุมกระจายตัวออกจากพื้นที่ และเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้ชุมนุมบางคนอาจเป็นภัยคุกคามหรืออาจเกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ได้

ส่วนอาวุธที่ใช้กองบัญชาการตำรวจนครบาลมีการติดสติ๊กเกอร์เป็นสัญลักษณ์ให้เห็นชัดเจนว่ากระสุนที่ใช้เป็นกระสุนยาง อีกทั้งเหตุการณ์ในภาพดังกล่าวไม่ได้มีการยิงผู้ชุมนุมที่ปรากฏในภาพ แต่ได้ทำการตักเตือนและไล่ให้ออกนอกพื้นที่

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม กรุงเทพธุรกิจ  / กองบัญชาการตำรวจนครบาล - บช.น.






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.