เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



กว๊านพะเยา เริ่มวิกฤต! น้ำลดลงเหลือ 15 ล้าน ลบ.ม. ปลาลอยตายเกลื่อน


10 ส.ค. 2564, 15:57



กว๊านพะเยา เริ่มวิกฤต! น้ำลดลงเหลือ 15 ล้าน ลบ.ม. ปลาลอยตายเกลื่อน




กว๊านพะเยาเริ่มวิกฤต หลังปริมาณน้ำมีน้อยส่งผลให้พบปลาจำนวนมากลอยตาย เนื่องจากอากาศแปรปรวน ขณะที่ประมงจังหวัดพะเยา ระบุช่วงนี้ปริมาณน้ำกว๊านพะเยาเหลือเพียง 15 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้ คุณภาพน้ำมีออกซิเจนน้อยประกอบกับอากาศแปรปรวนเนื่องจากในช่วงกลางวันจะมีอากาศที่ร้อนจัดและช่วงเย็นจะมีฝนตกบ้างเล็กน้อย วอนผู้ประกอบการร้านค้าหรือชุมชน หากพบเห็นปลาตายจำนวนมากขอให้ช่วยนำออกจากน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

 

ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ปลาจำนวนมากเริ่มลอยตายบริเวณกว๊านพะเยา ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในในแนวชายกว๊านพะเยา ช่วงบริเวณพื้นที่หลังวัดศรีโคมคำ หรือวัดพระเจ้าตนหลวง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ไปจนถึงบริเวณร้านอาหารโซกู๊ด โดยพบปลาจำนวนมากซึ่งประกอบด้วยปลานิล ปลาสร้อยปลาขาว ได้ลอยตายจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดและบางส่วนเริ่มเน่าเหม็นส่งกลิ่นไปยังบริเวณใกล้เคียง

โดยนายสนั่น ปานบ้านแพร้ว ประมงจังหวัดพะเยา ระบุว่า สาเหตุของปลาที่ตายบริเวณกว๊านพะเยาดังกล่าวนั้นเนื่องจากสาเหตุที่ปัจจุบันปริมาณน้ำกว๊านพะเยามีจำนวนน้อยมาก โดยมีปริมาณน้ำเพียง 15 ล้านลูกบาศก์เมตร ประกอบกับบริเวณผิวน้ำมีแพลงก์ตอนจำนวนมาก และมีสภาพอากาศแปรปรวน โดยในช่วงกลางวันจะมีอากาศที่ร้อนอบอ้าวและในช่วงเวลากลางคืนก็จะมีฝนตกลงมา จึงทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดน้อยลง และเป็นสาเหตุให้ปลาตายดังกล่าวเนื่องจากขาดออกซิเจน ซึ่งขณะนี้ทางประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้ทำการเร่งกำจัดซากปลาที่ตายดังกล่าวออกจากบริเวณน้ำเนื่องจากเกรงจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวอนขอให้หน่วยงานหรือร้านค้าที่อยู่บริเวณริมน้ำกว๊านพะเยาหากพบเห็นปลาตาย ก็ขอให้นำออกจากน้ำ และทำการฝังกลบหรือหากไม่มีพื้นที่ในการฝังกลบก็สามารถส่งให้กับหน่วยงานประมงที่มีอยู่ 3 หน่วยงานในพื้นที่ได้ ถ้าหากจะอาศัยเพียงหน่วยงานราชการซึ่งมีกำลังอยู่น้อยมากและไม่สามารถที่จะเข้ากำจัดได้ เกรงจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้คงต้องรอในเรื่องของปริมาณน้ำฝนที่จะเข้ามาเติมกว๊านพะเยาและให้คุณภาพน้ำดีขึ้นคาดว่าจะทำให้ลดการตายของปลาและปลาก็สามารถที่จะอยู่ได้

 

 



 

 

 

 


 

 

 

 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.