เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



เผยแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัย 59 จังหวัด รับมือฝนถล่มหนักถึงหนักมาก


26 ก.ย. 2564, 10:59



เผยแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัย 59 จังหวัด รับมือฝนถล่มหนักถึงหนักมาก




กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมาก ประจำวันที่ 26 กันยายน 2564 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึงเวลา 06.00 น. วันที่ 27 กันยายน 2564 โดยจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ได้แก่ แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, ตาก, สุโขทัย, กำแพงเพชร, นครสวรรค์ (พื้นที่เสี่ยงสูง), พิจิตร, พิษณุโลก, เลย, เพชรบูรณ์, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ, ยโสธร, ร้อยเอ็ด, สุรินทร์, บุรีรัมย์, นครราชสีมา

ราชบุรี, กาญจนบุรี (พื้นที่เสี่ยงสูง), อุทัยธานี (พื้นที่เสี่ยงสูง), ชัยนาท (พื้นที่เสี่ยงสูง), สุพรรณบุรี (พื้นที่เสี่ยงสูง), สิงห์บุรี (พื้นที่เสี่ยงสูง), อ่างทอง (พื้นที่เสี่ยงสูง), ลพบุรี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, นครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง(พื้นที่เสี่ยงสูง), จันทบุรี (พื้นที่เสี่ยงสูง), ตราด (พื้นที่เสี่ยงสูง)
 



เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ระนอง, พังงา, กระบี่, ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา

สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สมุทรปราการ, นครปฐม, ปทุมธานี, นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร     

ด้วยในช่วงวันที่ 25 - 26 กันยายน 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชัน “เตี้ยนหมู่” บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่แนวร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 27 กันยายน – 1 ตุลาคม 2564 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตลอดช่วง

ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง







Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.