เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



รองผอ.ชป.10 เผยสถานการณ์น้ำ-ความมั่นคงภาพรวม "เขื่อนป่าสักฯ" หลังรับน้ำจากพายุ "เตี้ยนหมู่"


29 ก.ย. 2564, 13:55



รองผอ.ชป.10 เผยสถานการณ์น้ำ-ความมั่นคงภาพรวม "เขื่อนป่าสักฯ" หลังรับน้ำจากพายุ "เตี้ยนหมู่"




วันนี้ ( 29 ก.ย.64 ) นายอนุสรณ์ ตันติวุฒิ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำ ในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยระบุว่า สถานการณ์น้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีความจุ 960 ล้าน ลบ.ม. และเมื่อ 22 ก.ย.64 (ก่อนพายุเตี้ยนหมู่) มีน้ำ 427 ล้าน ลบ.ม. (44%) อย่างไรก็ตามจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเนื่องจากอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ ทำให้มีฝนตกหนักในช่วง 23 – 25 ก.ย.64 บริเวณ อ.บึงสามพัน อ.วิเชียรบุรี อ.ศรีเทพ อ.ชัยบาดาล อ.ลำสนธิ อ.เทพสถิต ฝนสะสม3วันสูงสุดวัดได้ที่ อ.วิเชียรบุรี 350 มม.ทำให้มีน้ำป่าหลากจากเทือกเขาในเขต 6อำเภอ ข้างต้น ลงสู่เขื่อนป่าสัก อย่างรวดเร็ว วันที่ 24ก.ย.64 ที่ผ่านมา มีปริมาณ 30 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน เพิ่มเป็น 109ล้าน ลบ.ม./วัน ในวันที่ 28กย.64

โดยเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เริ่มเพิ่มการระบายน้ำ ตั้งโดยเพิ่มเป็นลำดับ เพื่อลดผลกระทบด้านท้ายน้ำ เนื่องจากปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นในการระบายน้ำให้เหมาะสม ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำของแม่น้ำป่าสัก เพิ่มขึ้น จากปัจจุบัน ประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร ขณะที่พื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบได้แก่ ต. แสลงพัน อ.วังม่วง จ.สระบุรี, ตลาดน้ำต้นตาล อ.เสาไห้ จ.สระบุรี, เทศบาลท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยาซึ่งโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โครงการชลประทานสระบุรี โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ ทำการประชาสัมพันธ์แล้ว แจ้งสถานการณ์น้ำแล้ว ตั้งแต่เมื่อวานนี้  



ด้านความมั่นคง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 
1. อาคารระบายน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีความสามารถระบายน้ำหลากที่ลงมาเข้าเขื่อนได้ทั้งหมด

2. แต่การระบายน้ำลงสู่แม่น้ำป่าสัก จะระบายให้อยู่ในเกณฑ์ที่แม่น้ำป่าสัก ด้านท้ายน้ำ สามารถรองรับน้ำได้ โดยไม่ล้นคันกั้นน้ำของแม่น้ำป่าสัก ซึ่งมีพื้นที่เสี่ยงในเขต อ.วังม่วง อ.เสาไห้ และเทศบาลท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

3. น้ำที่ระบายจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะไหลตามแม่น้ำป่าสักถึงเขื่อนพระราม 6 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 28 ชม. เขื่อนพระราม     จะทำหน้าที่ควบคุมการระบายน้ำผ่านเขื่อนพระราม 6 ไปถึง จ.พระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์ไม่เกิน 700 ลบ.ม. ต่อวินาที วันละประมาณ 56 ล้าน.ลบ.) เพื่อป้องกันผลกระทบกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชาชน
รวทั้งโบราณสถาน







Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.