"ชลบุรี" พบผู้ติดเชื้อโควิดวันที่ 21 ตุลาคม 64 เพิ่มอีก 359 ราย เสียชีวิต 5 ราย !
21 ต.ค. 2564, 08:34
ล่าสุด (21 ตุลาคม 64) ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก "สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี" รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดในพื้นที่ โดยข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี) ณ เวลา 06.30 น.วันที่ 21 ตุลาคม 2564 ระบุว่า วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 359 ราย
วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 359 ราย
1. Cluster ทหารเกณฑ์ อำเภอสัตหีบ 15 ราย สะสม 1,322 ราย
2. Cluster บริษัท แวนด้าแพค จำกัด อำเภอเมืองชลบุรี 5 ราย สะสม 249 ราย
3. Cluster บริษัท ไอเจทีที (ประเทศไทย) จำกัด อำเภอเมืองชลบุรี 5 ราย สะสม 5 ราย
4. สถานประกอบการในจังหวัดระยองหลายแห่ง 39 ราย สะสม 4,173 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,706 ราย
5. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 12 ราย
6. บุคลากรทางการแพทย์ 3 ราย
7. ให้ประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่างจังหวัด (จังหวัดระยอง) 3 ราย
8. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
8.1 ในครอบครัว 111 ราย
8.2 จากสถานที่ทำงาน 72 ราย
8.3 บุคคลใกล้ชิด 13 ราย
9. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 16 ราย
10. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 65 ราย
การระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มจากแหล่งสถานบันเทิง สู่ครอบครัว มาสู่เพื่อนร่วมงาน มาสู่ชุมชนที่พักอาศัยพนักงาน แรงงาน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการทานข้าวร่วมกัน หรือมีกิจกรรมใกล้ชิด สังสรรค์แม้จะเป็นเพียงกลุ่มเล็ก 2-3 คนในเพื่อนสนิททำให้เกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ในที่มีผู้คนรวมตัวกัน ทั้งในในสถานประกอบการ ตลาด แคมป์คนงานก่อสร้าง และชุมชนที่พักอาศัย ค่อยทหาร
ขอความร่วมมือ แหล่งชุมชุมชนดังนี้
ตลาด
1. ผู้ค้าหรือลูกจ้าง ไม่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ค้าหรือลูกจ้างร้านอื่น ๆ ไม่ทานอาหารใกล้ชิดด้วย
2. ไม่สังสรรค์
3. ป่วยต้องหยุด
4. ทำความสะอาดห้องน้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะจุดสัมผัสร่วม หลังออกจากห้องน้ำต้องล้างมือทุกครั้ง ไม่ใช้มือจับหน้าโดยไม่ล้างมือ
5. ใส่แมสก์ตลอดเวลา
6. เมื่อมีผู้ติดเชื้อในตลาด หากมีการตรวจเชิงรุก ขอให้รับการตรวจเชิงรุกทุกคน
7. เมื่อมีการปิดตลาด ขอความร่วมมือผู้สัมผัส หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้หยุดอยู่บ้าน
8. ไม่รับแรงงานต่างด้าวจากพื้นที่เสี่ยง
9 มีการสุ่มตรวจ ATK สม่ำเสมอ
สถานประกอบการ
1. ไม่สังสรรค์ ไม่ตั้งวงดื่มเหล้า
2. อาหารต้องไม่ทานใกล้ชิดด้วย
3. ป่วยต้องหยุด
4. จุดสัมผัสร่วม ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได สแกนนิ้วมือ เซ็นชื่อแล้วต้องล้างมือทันที
5. เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล ใส่แมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างๆกัน
6 สุ่มตรวจ ATK สม่ำเสมอ
สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องมีการกักตัวอย่างเข้มงวด ไม่ออกไปแพร่เชื้อ
การควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดชลบุรี อยู่บนพื้นฐานของสมดุลระหว่าง การควบคุมโรค เศรษฐกิจ สังคม
ปัจจัยความเร็วในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นกับการเคลื่อนที่นอกบ้านของประชาชน ความใกล้ชิดกัน รวมทั้งระยะเวลาในการใกล้ขิดกัน นอกเหนือจากการไม่เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล หากไม่ล้างมือก่อนจับหน้า เชื้อเข้าทางจมูก ปากตา ทำให้มีการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้
ในสภาวะการณ์ที่โควิด-19 มีการระบาดในวงกว้าง จนอาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น เชื้อไม่ได้หมดสิ่นไป ทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อได้ แต่ต้องไม่ให้เกิดการระบาดจนระบบสาธารณสุขรองไม่ไหว และต้องไม่เสียชีวิต ดังนั้นจึงขอความร่วมมือทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของจังหวัดชลบุรี
ค้นให้มาก กักให้ดี ชีวิตวิถีใหม่ ร่วมใจฉีดวัคซีน
1 ค้นให้มาก สถานที่ให้บริการประชาชน แหล่งชุมนุมชน ต้องมีการคัดกรองด้วย ATK สม่ำเสมอ ประชาชนที่มีอาการหรือสงสัยสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้มีการตรวจ ATK คัดกรอง
2 กักให้ดี ผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อให้กักตัวให้ดี ผู้ติดเชื้อต้องแยกกัก ไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
3 ชีวิตวิถีใหม่ ทุกคนต้องเคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล อยู่ห่างกัน หมั่นล้างมือ แมสก์ต้องใส่ เขื้อเข้าทาง จมูก ปาก ตา ต้องไม่จับหน้า โดยไม่ล้างมือ ทุกคนต้องสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่โควิด-19 ยังคงต้องหลงเหลือ ( smart living with covid-19 )และอาจกลายเเป็นเชื้อประจำถิ่น สถานที่ให้บริการประชาชน ต้องมีมาตรการควบคุมปัองกัน ( covid-19 free setting)
4 ร่วมใจฉีดวัคซีน วัคซีนลดความรุนแรงของโควิด-19 ได้ 100% แต่ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ยังคงสามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้ ยังคงต้องมีสุขอนามมัยส่วนบุคคล ขอความร่วมมือทุกท่านในการฉีดวัคซีน เพื่อลดความเร็วในการระบาด และลดความรุนแรงของโควิด-19 โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประตำตัว ขณะนี้ยังคงมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว และเป็นผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน
เสียชีวิตรายใหม่ทั้ง 5 รายของวันนี้ เป็นผู้สูงอายุทุกราย (อายุเฉลี่ย 71 ปี) ซึ่งผู้เสียชีวิตทั้ง 5 ราย เป็นผู้สัมผัสบุคคลใกล้ชิดและคนในครอบครัวของผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือการมีโรคประจำตัว ได้แก่ หอบหืด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเก๊าท์ และมี 4 ราย (80%) ที่ไม่พบประวัติการรับวัคซีน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีอัตราป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 มากกว่ากลุ่มอื่น