"ชลบุรี" พบผู้ติดเชื้อโควิดวันที่ 3 พฤศจิกายน 64 เพิ่มอีก 324 ราย เสียชีวิต 1 ราย !
3 พ.ย. 2564, 08:36
ล่าสุด (3 พฤศจิกายน) ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก "สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี" รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดในพื้นที่ โดยข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี) ณ เวลา 06.30 น.วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ระบุว่า วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 324 ราย
วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 324 ราย
1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 39 ราย สะสม 4,564 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,750 ราย
2. Cluster เขตพื้นที่ทหารเรือ อ.สัตหีบ 40 ราย สะสม 1,467 ราย
(ทหารเกณฑ์ 40 ราย)
3. แคมป์ก่อสร้าง บริษัท ไร่โกทอง คอนสตรัคชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด อ.ศรีราชา 5 ราย สะสม 53 ราย
4. บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด อ.ศรีราชา 4 ราย สะสม 35 ราย
5. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 11 ราย
6. บุคลากรทางการแพทย์ 2 ราย
7. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
7.1 ในครอบครัว 94 ราย
7.2 จากสถานที่ทำงาน 35 ราย
7.3 บุคคลใกล้ชิด 10 ราย
7.4 วมวงสังสรรค์ 4 ราย
8. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 13 ราย
9. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 67 ราย
การระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มจากแหล่งสถานบันเทิง สู่ครอบครัว มาสู่เพื่อนร่วมงาน มาสู่ชุมชนที่พักอาศัยพนักงาน แรงงาน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการทานข้าวร่วมกัน หรือมีกิจกรรมใกล้ชิด สังสรรค์แม้จะเป็นเพียงกลุ่มเล็ก 2-3 คนในเพื่อนสนิททำให้เกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ในที่มีผู้คนรวมตัวกัน ทั้งในในสถานประกอบการ ตลาด แคมป์คนงานก่อสร้าง และชุมชนที่พักอาศัย ค่อยทหารขอความร่วมมือ แหล่งชุมชุมชนดังนี้
ตลาด
1. ผู้ค้าหรือลูกจ้าง ไม่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ค้าหรือลูกจ้างร้านอื่น ๆ ไม่ทานอาหารใกล้ชิดด้วย
2. ไม่สังสรรค์
3. ป่วยต้องหยุด
4. ทำความสะอาดห้องน้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะจุดสัมผัสร่วม หลังออกจากห้องน้ำต้องล้างมือทุกครั้ง ไม่ใช้มือจับหน้าโดยไม่ล้างมือ
5. ใส่แมสก์ตลอดเวลา
6. เมื่อมีผู้ติดเชื้อในตลาด หากมีการตรวจเชิงรุก ขอให้รับการตรวจเชิงรุกทุกคน
7. เมื่อมีการปิดตลาด ขอความร่วมมือผู้สัมผัส หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้หยุดอยู่บ้าน
8. ไม่รับแรงงานต่างด้าวจากพื้นที่เสี่ยง
9 มีการสุ่มตรวจ ATK สม่ำเสมอ
สถานประกอบการ
1. ไม่สังสรรค์ ไม่ตั้งวงดื่มเหล้า
2. อาหารต้องไม่ทานใกล้ชิดด้วย
3. ป่วยต้องหยุด
4. จุดสัมผัสร่วม ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได สแกนนิ้วมือ เซ็นชื่อแล้วต้องล้างมือทันที
5. เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล ใส่แมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างๆกัน
6. สุ่มตรวจ ATK สม่ำเสมอ
สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องมีการกักตัวอย่างเข้มงวด ไม่ออกไปแพร่เชื้อ
การควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดชลบุรี อยู่บนพื้นฐานของสมดุลระหว่าง การควบคุมโรค เศรษฐกิจ สังคม
ปัจจัยความเร็วในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นกับการเคลื่อนที่นอกบ้านของประชาชน ความใกล้ชิดกัน รวมทั้งระยะเวลาในการใกล้ขิดกัน นอกเหนือจากการไม่เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล หากไม่ล้างมือก่อนจับหน้า เชื้อเข้าทางจมูก ปากตา ทำให้มีการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้
ในสภาวะการณ์ที่โควิด-19 มีการระบาดในวงกว้าง จนอาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น เชื้อไม่ได้หมดสิ่นไป ทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อได้ แต่ต้องไม่ให้เกิดการระบาดจนระบบสาธารณสุขรองไม่ไหว และต้องไม่เสียชีวิต ดังนั้นจึงขอความร่วมมือทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของจังหวัดชลบุรี
ค้นให้มาก กักให้ดี ชีวิตวิถีใหม่ ร่วมใจฉีดวัคซีน
1 ค้นให้มาก สถานที่ให้บริการประชาชน แหล่งชุมนุมชน ต้องมีการคัดกรองด้วย ATK สม่ำเสมอ ประชาชนที่มีอาการหรือสงสัยสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้มีการตรวจ ATK คัดกรอง
2 กักให้ดี ผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อให้กักตัวให้ดี ผู้ติดเชื้อต้องแยกกัก ไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
3 ชีวิตวิถีใหม่ ทุกคนต้องเคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล อยู่ห่างกัน หมั่นล้างมือ แมสก์ต้องใส่ เขื้อเข้าทาง จมูก ปาก ตา ต้องไม่จับหน้า โดยไม่ล้างมือ ทุกคนต้องสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่โควิด-19 ยังคงต้องหลงเหลือ ( smart living with covid-19 )และอาจกลายเเป็นเชื้อประจำถิ่น สถานที่ให้บริการประชาชน ต้องมีมาตรการควบคุมปัองกัน ( covid-19 free setting)
4 ร่วมใจฉีดวัคซีน วัคซีนลดความรุนแรงของโควิด-19 ได้ 100% แต่ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ยังคงสามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้ ยังคงต้องมีสุขอนามมัยส่วนบุคคล ขอความร่วมมือทุกท่านในการฉีดวัคซีน เพื่อลดความเร็วในการระบาด และลดความรุนแรงของโควิด-19 โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประตำตัว ขณะนี้ยังคงมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว และเป็นผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน
ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 1 รายของวันนี้ เพศหญิง (อายุ 71 ปี) เป็นผู้สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัวของผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือ เป็นผู้สูงอายุ และการมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน
และไม่พบประวัติการรับวัคซีน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก ผู้สูงอายุควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีอัตราป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 มากกว่ากลุ่มอื่น