นายกฯ เปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564
10 พ.ย. 2564, 09:44
เวลา 09.00 น. วันที่ 10 พ.ย. 64 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564” และมอบรางวัล Prime Minister’s Science Award 2021 ณ อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 9-12 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เอกอัคราชทูตเดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และรัสเซีย รวมไปถึงผู้แทนทูตจากสหราชอาณาจักร เข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ซึ่งวิทยาศาสตร์ถือเป็นส่วนสำคัญที่สัมพันธ์กับการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างคนเพื่ออนาคต ต้องมีการผสมผสานการศึกษาเรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรือนที่ต่อเนื่องสำหรับทุกช่วงวัย
โดยพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า วันนี้เป็นวันแห่งความสุขของนายกฯ อีกครั้ง ตนขอขอบคุณ อว. ที่นำนโยบายของตนและรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติในการยกระดับและพลิกโฉมประเทศ วันนี้โลกเปลี่ยนแปลงเราต้องปรับตัวเป็นโลกแห่งเทคโลโลยีดิจิทัล เป็นสิ่งสำคัญที่ทำประเทศชาติเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด เราคนไทยคงจำได้ว่า ประวัติศาสตร์ชาติไทยมีความเป็นมายาวนานอย่างไร โดยคนไทยโชคดีที่มีพระมหากษัตริย์ทรงวางรากฐาน ด้านวิทยาศาสตร์ การพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมนานาชาติ ซึ่งสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และในหลวงรัชกาลที่ 9 พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย ขณะที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 ได้ทรงสืบสานและต่อยอด โดยทรงใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ยากและระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย
สำหรับงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ครั้งนี้ เป็นมหกรรมใหญ่ครั้งหนึ่งท่ามกลางสถานการณ์โควิด จึงขอให้ทุกคนระมัดระวังตามมาตรการต่างๆ ให้ดีที่สุดหากเราป้องกันดีแล้วก็จะมั่นใจและปลอดภัย ครั้งนี้ขอเชิญชวนให้ทุกคนมาเยี่ยมชมงานในครั้งนี้ซึ่งจะเป็นโอกาสที่เยาวชนได้เรียนรู้ ซึ่งในยุคปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราต้องเรียนรู้โลกแห่งอนาคต และเป็นพื้นฐานของไทยโดยต้องกระจายไปทุกพื้นที่อยากสร้างแรงกระตุ้นให้ทุกคนให้ความสนใจ เพราะนี่คืออนาคตประเทศไทย ซึ่งเยาวชนเราไม่ด้อยกว่าชาติใดในโลกแลยังสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยระดับนานาชาติ ยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมสนุนเยาวชนไทยเต็มที่
ทั้งนี้การศึกษาของเราต้องเข้าให้ถึงแก่นแกนการศึกษา ซึ่งสถาบันการศึกษา ครู ต้องมีส่วนสำคัญสร้างแรงกระตุ้น โดยครูต้องพัฒนาตัวเองสอนให้เด็กเข้าใจเรียนรู้ว่าจะใช้ประโยชน์จากวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีได้อย่างไร พร้อมการสอนให้เกิดกระบวนการคิด โดยครูกับนักเรียนต้องเรียนรู้ไปด้วยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากกว่าการท่องจำ เพื่อให้เดินหน้าไปได้ โดยบ้าน วัด โรงเรียนสำคัญที่สุดในสังคมไทย โดยตนได้สั่งการรมว.อว. ไปแล้วให้นำเรื่องเหล่านี้แพร่ทุกพื้นที่ เพื่อลด ความเหลื่อมล้ำทางความรู้และนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นกว่าเดิม สิ่งสำคัญเด็กๆ ทุกคนต้องเรียนรู้และสนใจไขว่คว้าให้จบการศึกษาเล่าเรียนและมีงานทำ ขณะที่รัฐบาลจพยายามอย่างยิ่งยวดในเรื่องเหล่านี้
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการเดินทางไปเข้าร่วมการประชุม COP26 ได้ย้ำว่า วันนี้เราต้องให้ความสำคัญกับโลกใบนี้ ซึ่งเป็นโลกของทุกประเทศ ไม่ใช่เพียงเฉพาะประเทศไทย เรามีโลกเพียงใบเดียว ซึ่งเราใช้ศัพท์แบบนี้กันทุกประเทศโลกส่งเสียงเรียกร้องมาแล้ว ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เราทุกคนต้องร่วมกันดูแล
ทั้งนี้ภายหลังเสร็จสิ้นการเปิดงาน นายกรัฐมนตรี ได้เดินชมนิทรรศการให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามบูธต่างๆ ภายในงาน จนเมือเดินมาถึงบูธของสถานทูตฝรั่งเศส นายกฯ ก็ได้ถูกใจภาพหัวเสือ หรือ Tiger และได้หยุดถ่ายภาพคู่เป็นที่ระลึก พร้อมขอซื้อภาพดังกล่าว
โดยที่มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564 กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี จัดระหว่างวันที่ 9 - 19 พฤศจิกายน 2564 นี้ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศและนานาชาติ โดยเฉพาะผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของประเทศ เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป พร้อมกระตุ้นความสนใจและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการนําไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศ พัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตและพัฒนาเศรษฐกิจของประเท
ทั้งนี้ มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ” ประจำปี 2564 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Art - Science - Innovation and Creative Economy)” โดยจัดขึ้นในรูปแบบไฮบริดอีเว้นท์ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันการแพร่ะระบาดของโรคโควิด-19 โดยผสมผสานระหว่างการเข้าชมงานในฮอลล์ หรือเลือกรับชมจากที่บ้าน มีไฮไลท์ของงาน คือการจัดแสดงงานที่ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม “BCG Model : Bio - Circular - Green Economy” และเป็นครั้งแรกของการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (1st BCG Science Fair in SEA) ที่จุดประกายความคิด สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG
นอกจากนี้ ยังมี 9 นิทรรศการหลักของงาน ได้แก่
1) นิทรรศการเทิดพระเกียรติ (Royal Pavilion)
2) นิทรรศการหมื่นจินตนาการ ล้านความรู้ (Science Fiction Fun & Knowledge)
3) นิทรรศการโครงร่างสร้างเรื่อง (Skeleton)
4) นิทรรศการหนึ่งเรียบง่าย หลายคุณอนันต์ (Simple Machine)
5) นิทรรศการดินแดนผักและผลไม้ (Fruit and Veggie Land)
6) นิทรรศการโลกดิจิทัลไร้พรมแดนกับเทคโนโลยี 5G (Experience the Limitless Life with 5G)
7) นิทรรศการภารกิจข้ามดวงดาว (Space Odyssey)
8) นิทรรศการ Maker Space : สู่นวัตกรรมเพื่ออนาคต (Maker Space: Make the Future)
9) นิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติ “จากท้องนทีสู่ห้วงสมุทร: สายน้ำกับสายสัมพันธ์ของชีวิต” (International Photo Exhibition on “River and Ocean: Connecting Water to Life”)