ปภ. เร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย "9 จังหวัด" ล่าสุดระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง
26 พ.ย. 2564, 10:22
วันที่ 26 พ.ย.64 เวลา 09.40 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 8 จังหวัด โดยในห้วงวันที่ 23 – 26 พ.ย. 64 พื้นที่ภาคใต้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 4 จังหวัด (ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช) รวม 16 อำเภอ 50 ตำบล 174 หมู่บ้าน ขณะที่อิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ พายุไลออนร็อก พายุคมปาซุและร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 26 พ.ย. 2564 ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 5 จังหวัด (อุบลราชธานี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม) รวม 15 อำเภอ 133 ตำบล 884 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 45,475 ครัวเรือน ภาพรวมระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหายเร่งระบายน้ำและให้การช่วยเหลือประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ส่งผลให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ในห้วงวันที่ 23 – 26 พ.ย. 64 ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ทำให้เกิดน้ำท่วมฉบับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง รวม 19 อำเภอ 53 ตำบล 177 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,448 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณคลี่คลายแล้ว 2 จังหวัด (พัทลุง และเพชรบุรี) ยังคงมีสถานการณ์ใน 4 จังหวัด 16 อำเภอ 50 ตำบล 174 หมู่บ้าน ดังนี้
1. ประจวบคีรีขันธ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางสะพาน อำเภอสามร้อยยอด และอำเภอหัวหิน รวม 10 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 827 ครัวเรือน
2. ชุมพร น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอหลังสวน รวม 13 ตำบล 84 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผกระทบ 2,112 ครัวเรือน
3. สุราษฎร์ธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเกาะพะงัน อำเภอพระแสง อำเภอคียนซา อำเภอเวียงสระ และอำเภอท่าชนะ รวม 13 ตำบล 29 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 494 ครัวเรือน
4. นครศรีธรรมราช น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสิชล อำเภอนบพิตำ อำเภอท่าศาลา อำเภอขนอม อำเภอพิปูน อำเภอฉวาง และอำเภอทุ่งสง รวม 14 ตำบล 26 หมู่บ้าน
ขณะที่สถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ พายุไลออนร็อก พายุคมปาซุ และร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 24 พ.ย. 2564 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม รวม 15 อำเภอ 133 ตำบล 884 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 45,475 ครัวเรือน โดยภาพรวมระดับน้ำลดลงต่อเนื่องแต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ดังนี้
1. อุบลราชธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ รวม 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 573 ครัวเรือน
2. สุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอบางปลาม้า รวม 28 ตำบล 267 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,053 ครัวเรือน
3. พระนครศรีอยุธยา ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 34 ตำบล 198 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,120 ครัวเรือน
4. ปทุมธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 61 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,301 ครัวเรือน
5. นครปฐม ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอกำแพงแสน และอำเภอดอนตูม รวม 46 ตำบล 335 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,428 ครัวเรือน
สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระดมสรรพกำลังในการระบายน้ำออกจากพื้นที่และดูแลให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ