พ่อเมืองสุพรรณฯ ผุดโครงการผันน้ำกักเก็บไว้หน้าแล้งแห่งแรกของจังหวัด
30 พ.ย. 2564, 18:55
จังหวัดสุพรรณบุรีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรตะกรรมโดยเฉพาะการทำนา และทำไร ทำให้ต้องใช้น้ำในการทำนาทำไร่ และอุปโภคบริโภค ยิ่งช่วงนาแล้ง ชาวนา ชาวไร่ ขาดน้ำเป็นประจำทุกปี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี จึงมีโครงการ ผันน้ำ ทอยน้ำ ส่งน้ำ ระบายน้ำในพื้นประสบอุทกภัยนำไปเก็บกักเพื่อใช้ในฤดูแล้ง โดยให้ นายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเขต2สุพรรณบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจพื้นที่ ที่เป็นสระหลวง เพื่อผันน้ำนำไปกักเก็บไว้ใช้หน้าแล้ง ซึ่งพื้นที่สระหลวง ต.หัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เป็นพื้นที่นำร่องในการผันน้ำมากักเก็บไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งเป็นแห่งแรกในสุพรรณบุรี
นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่าการผันน้ำ ทอยน้ำ ส่งน้ำ ระบายน้ำในพื้นที่หมู่ 12 ต.หัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี (ไปเก็บกัก ณ สระหลวง 12 ไร่) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเฉพาะในพื้นที่ของอำเภอเดิมบางนางบวช ตำบลหัวเขา ที่ได้รับผลกระทบเป็นลำดับต้น ๆ จากกรณีที่ฝนตกหนักในพื้นที่ และน้ำเอ่อล้นตลิ่งที่ผันมาจากประตูพลเทพ จังหวัดชัยนาท ผ่านคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง (มอ.) เอ่อล้นท่วมบ้านเรือนราษฎร จำนวน 555 ครัวเรือน และพื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 3,000 ไร่
โดยเฉพาะพื้นที่ประสบอุทกภัยที่นำไปเก็บกักเพื่อใช้ในฤดูแล้ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และจังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้มอบหมายให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต2สุพรรณบุรี ร่วมกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ทำการปกครองอำเภอเดิมบางนางบวช องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเขา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกัน สูบน้ำ ผันน้ำ ทอยน้ำ ระบายน้ำ โดยใช้รถสูบส่งระยะไกล 3 กิโลเมตร ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2 สุพรรณบุรี ส่งน้ำบางส่วนไปเก็บกักในสระน้ำกลางหมู่บ้าน หมู่ 12 ตำบลหัวเขา (สระหลวง) ปริมาณเก็บกักประมาณ 100,800 ลบ.ม. สระน้ำกว้างประมาณ 120 เมตร ยาว 120 เมตร ความลึก 7 เมตร เป้าหมายในการเก็บกักที่ 80,640 ลบ.ม. (80% ของความจุอ่างเก็บน้ำ) ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการมาแล้ว 15 วัน (ตั้งแต่วันที่ 15 - 29 พฤศจิกายน 2564 ได้ปริมาณน้ำสะสม 80,640 ลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์ จำนวน 555 ครัวเรือน (ตำบลหัวเขา-ตำบลหัวนา) พื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์ประมาณ 3,000 ไร่
นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ยังฝากความห่วงใยถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง และ อ.เมืองบางส่วน ที่ยังประสบอุทกภัย ขณะนี้ หลายหน่วยงานในจังหวัดได้สนธิกำลัง ร่วมกับ ปภ. ฝ่ายปกครอง เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในชุมชน โดยการสูบน้ำที่ท่วมขังระบายลงสู่แม่น้ำท่าจีน เพื่อลดการเกิดน้ำเน่าเสีย ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และคาดว่าน้ำที่ท่วมขังจะเข้าสู้ภวะปกติประมาณปลายเดือนธันวาคมนี้ และเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียงหายทั้งบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรตะกรรมเพื่อหาแนวช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนต่อไป