เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"สมาชิกวุฒิสภา" ลงพื้นที่จ.สกลนคร ตรวจสอบปัญหาภัยแล้ง - อุทกภัย พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากพี่น้องประชาชน


6 ก.ย. 2562, 08:20



"สมาชิกวุฒิสภา" ลงพื้นที่จ.สกลนคร ตรวจสอบปัญหาภัยแล้ง - อุทกภัย พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากพี่น้องประชาชน




วันที่ 5 กันยายน 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน  ซึ่งนำโดย พลโทจเรศักดิ์ อานุภาพ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะรองประธานกรรมการคนที่ 1 พร้อมคณะกรรมการ ซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา รวม 19 ท่าน  ลงพื้นที่จังหวัดสกลนคร ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2562 เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากพี่น้องประชาชน โดยพลโทจเรศักดิ์ อานุภาพ สมาชิกวุฒิสภา ได้ชี้แจงบทบาทหน้าที่ของวุฒิสภา นายจรินทร์ จักกะพาก ได้ชี้แจงถึงหน้าที่ และอำนาจของวุฒิสภาในการปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20. ปีและการติดตามการบังคับใช้กฎหมาย

โอกาสนี้ได้รับฟังแผนปฏิบัติราชการ รวมทั้งหารือ ร่วมกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรภาคเอกชน และผู้นำท้องถิ่นของจังหวัดสกลนคร ที่สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ปัญหาของข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารราชการของจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำท้องถิ่น ปัญหาบริหารจัดการน้ำ และปัญหาที่เกี่ยวกับประชาชนในด้านต่างๆ เช่น ความต้องการทางรถไฟ ขุดเจาะอุโมงค์ภูพาน กระเช้าไฟฟ้า เป็นต้น

นอกจากนี้ สมาชิกวุฒิสภา ได้มอบถุงยังชีพให้กับจังหวัดสกลนคร นำไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น

จากนั้น เวลา15.30 น. คณะกรรมการสมาชิกวุฒิสภา ได้ลงพื้นที่ ตำบลห้วยหลัว อำเภอบ้านม่วง ซึ่งตั้งอยู่ริมลำน้ำสงครามเพื่อพบปะประชาชนและรับฟังการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำสงคราม. ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้แก่เกษตรกร โดยคณะสมาชิกวุฒิสภา ได้แบ่งกันลงพื้นที่อำเภอคำตากล้า พบปะประชาชน เยี่ยมเยือน และรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่

โดยนายชัยมงคล ไชยรบ นายก อบจ.สกลนคร กล่าวว่า ลำน้ำสงครามในฤดูฝนมักจะเกิดน้ำเอ่อท่วมไร่นาและบ้านเรือน แต่เมื่อถึงฤดูแล้งกลับไม่มีน้ำเหลือเลย และเป็น 1. ใน 25. ลำน้ำของประเทศแห่งเดียวที่ไม่มีเขื่อนกั้นน้ำไว้ใช้  ทั้งที่ลำน้ำสงครามมีความยาว 520 กม. ผ่านจังหวัดอุดรธานี จังหวัดสกลนคร จังหวัดบึงกาฬและจังหวัดนครพนม ก่อนที่จะไหลลงสู่ลำน้ำโขง  ชาวบ้านจึงได้เสนอให้มีการผลักดันให้สร้างฝายชะลอน้ำเป็นช่วงๆเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จก็สามารถผันน้ำขึ้นมาใช้ในการเกษตรต่อไป ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน









Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.