เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



กทม. เปิดศูนย์พักคอยฯ 41 แห่ง ย้ำ ! เจอสถานประกอบการกระทำผิด สั่งปิดทันที !


8 ม.ค. 2565, 19:03



กทม. เปิดศูนย์พักคอยฯ 41 แห่ง ย้ำ ! เจอสถานประกอบการกระทำผิด สั่งปิดทันที !




เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564 ที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เกียกกาย เขตดุสิต นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตรวจความพร้อมการเปิดศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation : CI) เกียกกาย เขตดุสิต เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รองรับกรณีมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ต้องเข้าสู่ระบบการรักษาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์การติดเชื้อผู้ป่วย-19 มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยมี นายสมบูรณ์ หอมนาน ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว นางป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย นายธานินทร์ เนียมหอม ผู้อำนวยการเขตดุสิต และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่

ปลัด กทม. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีนโยบายกำชับให้เตรียมความพร้อมศูนย์พักคอย (Community Isolation : CI) จำนวน 41 แห่ง รวม 5,158 เตียง ทั้งทางด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ให้แล้วเสร็จพร้อมเปิดดำเนินการภายใน 7 มกราคม 2565 โดยขณะนี้ CI ทั้ง 13 แห่งแรกนี้ มีจำนวนเตียงพร้อมรองรับแล้วรวมทั้งหมด 1,826 เตียง และเตรียมพร้อมอีก 28 แห่ง ให้สามารถเปิดได้ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2565 เป็นต้นไปอีก 3,332 เตียง ปัจจุบันมีผู้ครองเตียง 137 ราย  (8 ม.ค.65) คงเหลือ 5,021 เตียง



สำหรับศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (CI) เฉพาะสำหรับเด็กและครอบครัว ที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยเกียกกายแห่งนี้เป็น 1 ใน 13 แห่งแรกที่เปิดให้บริการได้ก่อน สามารถรับผู้ป่วยเด็กอายุ 5-12 ปี แบ่งเป็นได้ ชาย 26 คน และหญิง 26 คน เดิมได้ปรับเป็นสแตนด์บายโหมดอยู่แล้ว หากมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่เป็นเด็กอายุ 5-12 ปี ก็สามารถรับผู้ติดเชื้อมาดูแลได้ทันที” ปลัดกรุงเทพมหานครกล่าว

นายขจิตกล่าวว่า ส่วนศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อประจำกลุ่มเขตที่พร้อมเปิดให้บริการอีก 12 ศูนย์ ได้แก่ 1.บริษัท RBS Logistic จำกัด เขตลาดพร้าว 175 เตียง 2.โรงเรียนการไปรษณีย์ เขตหลักสี่ 118 เตียง 3.ประปาแม้นศรี เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 100 เตียง 4.ศูนย์ตันปัน เขตห้วยขวาง 145 เตียง 5.วัดสะพาน เขตคลองเตย 500 เตียง 6.นาซ่า แบงค์คอก เขตสวนหลวง 92 เตียง 7.ศูนย์พักคอย กทม. เขตคันนายาว 127 เตียง 8.ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตบางกะปิ 133 เตียง 9.ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตทวีวัฒนา 114 เตียง 10.ศูนย์สร้างสุขทุกวัย (สตรี) เขตบางกอกใหญ่ 50 เตียง 11.วัดกำแพง เขตภาษีเจริญ 100 เตียง 12.ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตบางขุนเทียน 120 เตียง


นอกจากการเปิดบริการศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation : CI) ผู้ป่วยโควิด-19 ทั้ง 13 แห่งแล้ว กรุงเทพมหานครยังได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม จำนวน 4 แห่ง และโรงพยาบาลสนามประจำกลุ่มเขตทั้ง 6 กลุ่มเขต (District Field Hospital/CI Plus) จำนวน 7 แห่ง โดยดำเนินการร่วมกับโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐและเอกชน จำนวนเตียงรวมทั้งสิ้น 4,974 เตียง รวมถึงเตรียมความพร้อมทั้งโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอยเพิ่มเติมอีก 25,345 เตียง แบ่งออกเป็น โรงพยาบาลหลัก 2,922 เตียง โรงพยาบาลสนาม 2,898 เตียง และ Hospitel 19,525 เตียง






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.