เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"ผู้ประกอบการเลี้ยงหมูรายย่อย" หยุดประกอบกิจการ หลังเกิดโรคระบาด


10 ม.ค. 2565, 16:28



"ผู้ประกอบการเลี้ยงหมูรายย่อย" หยุดประกอบกิจการ หลังเกิดโรคระบาด




ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ผู้ประกอบการรายย่อยเลี้ยงหมู ในพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ต้องหยุดประกอบกิจการการเลี้ยงหมู หลังได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคหมูเมื่อปี 2563 โดยได้รับค่าชดเชยเป็นจำนวน 75% ของราคาหมูในขณะนั้น ขณะที่ปศุสัตว์จังหวัดพะเยา แจงจะให้การช่วยเหลือตามที่รัฐมนตรีว่าช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีข้อสั่งการมาโดยจะให้เกษตรกรรายย่อยที่ต้องการเลี้ยงสุกร โดยจะส่งเสริมสนับสนุนแม่พันธุ์สุกรรายละ 2 ตัว และลูกสุกรขุน รายละ 20 ตัว จากผู้ประกอบการรายใหญ่



วันที่ 10 มกราคม 2565 นายมนัส นามบ้าน เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยาที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคระบาดในหมู เมื่อเดือนกันยายน 2563 ซึ่งหมูในของฟาร์มตัวเอง ที่ทำการเลี้ยงไว้กว่า 300 ตัว ต้องถูกทำลายหมด หลังพบว่าในพื้นที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสหมู และจนถึงขณะนี้ตนเองยังไม่สามารถที่จะกลับมาเลี้ยงหมูได้เนื่องจากไม่มั่นใจในสถานการณ์ของโรคระบาดดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องชะลอการเลี้ยงไว้ แต่ที่ผ่านมาก็ได้รับการช่วยเหลือจากทางรัฐ โดยการชดเชยในส่วนความเสียหาย เป็นจำนวน 75 เปอร์เซ็นต์ในราคาเนื้อหมู ราคา 80 บาท


ขณะที่นายสัตวแพทย์สมบัติ ศุภประภากร ปศุสัตว์จังหวัดพะเยา ได้รับมอบหมายจากนายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เข้าร่วมประชุมรับฟังปัญหาและหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมีนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่เขต 5 และเขต 6 เกษตรและสหกรณ์จังหวัดในภาคเหนือ ผู้ประกอบการและเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงสุกรเข้าร่วมประชุม ผลการประชุมได้ข้อสรุปให้ปศุสัตว์จังหวัดและผู้บริหารธกส.ในแต่ละจังหวัดดำเนินการสำรวจประเมินความเสี่ยงในการยกระดับการเลี้ยงสุกร สำรวจและขึ้นทะเบียนเกษตรกรรายย่อยที่ต้องการเลี้ยงสุกร ส่งเสริมสนับสนุนแม่พันธุ์สุกรรายละ 2 ตัว และลูกสุกรขุนรายละ 20 ตัวจากผู้ประกอบการรายใหญ่ ศูนย์จิยและบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ เครือข่ายสัตว์พันธุ์ดี และ วิทยาลัยเกษตรให้ธกส.พิจารณาช่วยเหลือหนี้เดิมและสนับสนุนสินเชื่อใหม่ในการเลี้ยงแม่พันธุ์สุกร ลูกสุกรขุน ปรับปรุงยกระดับมาตรฐานฟาร์ม โรงงานผลิตอาหารสัตว์ และอื่นๆตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยธกส.จัดสรรงบประมาณในวงเงิน 30,000 ล้านบาทในการช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร จากการประชุมในครั้งนี้เกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมประชุมมีความสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.