กรมศิลป์ฯ ประกาศให้วัดพิจิตรสังฆาราม จ.มุกดาหาร เป็นโบราณสถาน
12 ก.พ. 2565, 13:09
เมื่อวันที่ ๑๑ ก.พ. ๒๕๖๕ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ตินโบราณสถาน ระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ กรมศิลปากรจึงประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดิน โบราณสถาน วัดพิจิตรสังฆาราม ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัตมุกดาหาร ให้มีพื้นที่โบราณสถาน ๒ งาน ๔๔ ตารางวา รายละเอียดดังปรากฏตามแผนผังแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔
สำหรับวัดพิจิตรสังฆาราม จ.มุกดาหาร มีธรรมาสน์เสาเดียวภายใน ลักษณะเป็นหอธรรมาสน์คือแท่นสำหรับพระสงฆ์ขึ้นไปนั้งแสดงธรรม ซึ่งงจังหวัดอื่นในภาคอีสานจึงมักทำเป็นรูปหอปราสาทที่มีฐานสี่เหลี่ยมทึบลดหลั่นกันไปหรือเป็นเสาสี่เสา
ธรรมาสน์เสาเดียวภายในวัดพิจิตรสังฆาราม สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๘๗๓ หมดเงิน ๑๑๓ บาทถ้วน ลักษณะเป็นธรรมาสน์ที่สร้างขึ้น โดยให้ตั้งอยู่บนเสาไม้หนึ่งต้น ไม้ที่นำมาใช้ทำเสา และส่วน ประกอบอื่น ๆ เป็นไม้เนื้อแข็ง แบ่งความสูงของธรรมาสน์ออกเป็นสามส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นฐาน มีคันทวยแกะสลักเป็นรูปพญานาคสี่ตัว วางไว้สี่ทิศ เป็นคันทวยหรือแขนนาง ซึ่งคันทวยแต่ละตัวลายไม่เหมือนกัน ทำหน้าที่รับน้ำหนักของธรรมาสน ส่วนที่สอง เป็นชั้นธรรมาสน์ห้องสี่หลี่ยมจตุรัส มีหน้าต่างสามบาน บานประตูหนึ่งบาน ซึ่งมี ลักษณะคล้ายหน้าต่าง ส่วนที่สามเป็นหลังคาธรรมาสน์ สร้างเป็นเก๋งห้าชั้น ลดหลั่นขึ้นไปถึงยอดสูงสุด การขึ้นธรรมาสน์ของพระ จะใช้บันไดไม้พาดด้านหลัง เมื่อไม่ได้ขึ้นเทศน์ ก็จะนำบันไดไปเก็บไว้
วัดพิจิตรสังฆาราม สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๘๖๔ นำโดยพระเหรีญญู – เจ้าไชยมาส – เจ้าราชรินทร – นายติว พร้อมด้วยชาวบ้านร่วมกันสร้าง โรงธรรมหรือหอแจกหลังแรกสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลังปัจจุบันบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นวัดที่อนุรักษ์ ธรรมาสน์เสาเดียว ซึ่งตั้งอยู่บนศาลาการเปรียญ (โรงธรรมหรือหอแจก) เป็นธรรมาสน์เสาเดียวที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด หอแจกหรือโรงธรรมหรือศาลาการเปรียญ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของ “ธรรมาสน์เสาเดียว” ที่วัดจิตรสังฆาราม บ้านโนนยาง ยังคงใช้ป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของชาว บ้านและพระสงฆ์ ทั้งในวันธรรมดาและในวันธรรมสวนะหรือวันพระตลอดมาจนถึงปัจจุบัน