เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ครม. เบรก! การรักษาโควิดตามสิทธิ ให้ใช้ "ระบบยูเซ็ป โควิด-19 พลัส" ตามเดิม


22 ก.พ. 2565, 15:32



ครม. เบรก! การรักษาโควิดตามสิทธิ ให้ใช้ "ระบบยูเซ็ป โควิด-19 พลัส" ตามเดิม




เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เปิดเผยว่า ตามที่ สธ.เตรียมการดีเดย์ในวันที่ 1 มีนาคมนี้ เพื่อปรับระบบการบริการให้ผู้ป่วยโควิด-19 ไปใช้การรักษาตามสิทธิสุขภาพของแต่ละบุคคล และเตรียมประกาศ ยูเซ็ป โควิด-19 พลัส (UCEP Covid-19 Plus) โดยให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กำหนดเกณฑ์ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มอาการสีเหลืองและสีแดง เพื่อให้ใช้บริการได้ทุกที่ ฟรีทุกสิทธิในสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน

“ในวันนี้ มีการนำเรื่องอัตราที่จะจ่ายค่าบริการให้สถานพยาบาลเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบ โดยวันนี้ ครม.ให้ความเห็น มอบให้ สธ.ทบทวนเรื่องกระบวนการและเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน โดยเฉพาะกระบวนการติดต่อการรักษา ช่องทางต่างๆ รวมถึงเรื่องยูเซ็ป โควิด-19 พลัส ในอนาคต และการปรับระบบการรักษาที่บ้าน (Home Isolation: HI) ให้กระบวนการมีความคล่องตัว และการทำความเข้าใจกับประชาชน วันนี้ ครม.จึงยังไม่มีมติใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ซึ่ง สธ.ได้รับเรื่องนี้มาเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน ทำความเข้าใจกับสถานพยาบาลและทบทวนกระบวนการต่างๆ” นพ.ธเรศ กล่าว



นพ.ธเรศ กล่าวว่า กรอบเวลาที่จะใช้ทบทวน ก็จะต้องนำเรื่องนี้เข้าคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอต่อไป ส่วนเรื่องการประกาศยกเลิกกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินกรณีการติดเชื้อโควิด-19 ทาง ครม.ให้ สธ.ดำเนินการทบทวนให้สอดคล้องกัน

“โดยสรุปคือ ตอนนี้ระบบการดูแลยังเป็นยูเซ็ป โควิด-19 (UCEP covid-19) เหมือนเดิม ซึ่งต้องไปดูแลกระบวนการดูแลผู้ป่วยเพิ่มเติมขึ้น โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงต้องมีการพัฒนาช่องทางการติดต่อเพื่อเข้าระบบ 1330 หรือการเข้า Line official ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อีกประเด็นคือ ดูแลระบบการรับส่งผู้ป่วย คำถามถึงฮอสปิเทล (Hospitel) ว่าเหลือหรือไม่ ต้องเน้นย้ำว่า ฮอสปิเทล เป็นกระบวนการหนึ่งที่ สบส.ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาลฯ เพื่อออกประกาศสถานพยาบาลชั่วคราว ในการปรับปรุงโรงแรมและทำงานร่วมกับโรงพยาบาล (รพ.) ขณะนี้ ยังมีฮอสปิเทลที่ให้บริการถึง 200 แห่ง รวม 3.6 หมื่นเตียง ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ทั้งของภาครัฐและเอกชน ที่ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ซึ่งมีอัตราเข้าพัก ร้อยละ 30” นพ.ธเรศ กล่าว


ผู้สื่อข่าวคำถามถึงกรณี รพ.เอกชน ปฏิเสธการรับผู้ป่วย นพ.ธเรศ กล่าวว่า ขณะนี้กลไกของยูเซ็ป โควิด-19 ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ดังนั้น ผู้ป่วยโควิด-19 ทุกรายยังถือเป็นโรคฉุกเฉิน สถานพยาบาลต้องให้การดูแล และไม่สามารถปฏิเสธได้ ซึ่งหากทางสถานพยาบาลไม่มีศักยภาพในการดูแลหรือไม่มีเตียง ต้องส่งต่อผู้ป่วย และย้ำว่าไม่สามารถเรียกเก็บเงินมัดจำได้ ซึ่งจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาลฯ

นพ.ธเรศ กล่าวว่า ในเรื่องของการรักษา ยึดหลักการตรวจด้วย ATK หากพบว่า ผลเป็นบวก สามารถดูแลในสถานพยาบาล ซึ่งรวมถึง HI/CI ด้วย ดังนั้น หากบริษัทประกันต้องการผล RT-PCR ต้องเรียนว่า สบส.แจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้ทบทวนเรื่องนี้กับบริษัทประกันแล้ว






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.