เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ชป.เร่งงัดมาตรการจัดการน้ำพื้นที่อีสาน "น้ำชี-น้ำมูล" ลดผลกระทบพื้นที่น้ำท่วม


11 ก.ย. 2562, 13:33



ชป.เร่งงัดมาตรการจัดการน้ำพื้นที่อีสาน "น้ำชี-น้ำมูล" ลดผลกระทบพื้นที่น้ำท่วม




วันนี้ ( 11 ก.ย.62 ) นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคอีสานมีพื้นที่ประสบอุทกภัยกว่า 1,400,000 ไร่ใน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ มุกดาหาร อุบลราชธานี และจังหวัดมหาสารคาม กรมชลประทานได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 60 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 106 เครื่อง และการักน้ำสาม 14 ชุด เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังอย่างต่อเนื่องแล้ว ขณะนี้มีน้ำค้างทุ่งที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกประมาณ 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร กรมชลประทาน จึงได้เร่งกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำชีและแม่น้ำมูล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ยังคงถูกน้ำท่วมสูงอยู่ โดยในแม่น้ำชีได้ทำการชะลอน้ำจากแม่น้ำชีมหาสารคาม ด้วยการลดบานระบายน้ำให้เหลือ 10 เซนติเมตร และทำการการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทขนาดกลาง และขนาดเล็ก จำนวน 23 แห่ง ส่วนท้ายเขื่อนมหาสารคาม จะปรับลดอัตราการระบายน้ำให้เหลือวันละ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร และลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายน้ำ 

สำหรับแม่น้ำมูล จะทำการชะลอน้ำที่เขื่อนราศีไศลให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ด้านท้ายน้ำ โดยจะติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดพร้อมปรับลดการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก จำนวน 57 แห่ง รวมไปถึงการชะลอน้ำในลำเซบาย จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งลำโดมใหญ่และลำน้ำสาขาอื่นๆ เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายน้ำ พร้อมกับพ่อระวังปริมาณน้ำในแม่น้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ M.7 ให้อยู่ในอัตรา 4,600 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พร้อมย้ำว่า สถานการณ์จะเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 20 กันยายนนี้ 



อย่างไรก็ตาม กรมชลประทาน คาดการณ์ว่าหากไม่มีฝนตกหนักลงมาเพิ่มเติมในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชีปริมาณน้ำสูงสุดที่จะไหลผ่านที่สถานีวัดน้ำ M.7 บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 13 กันยายนนี้ประมาณ 4,800 -4,900 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือสูงกว่าตลิ่งปริมาณ 3.70-3.80 เมตรก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขงในระยะต่อไป 

การระบายน้ำในแม่น้ำมูลลงสู่แม่น้ำโขงจะระบายได้ช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในแม่น้ำโขงซึ่งหากระดับน้ำลดต่ำลงการระบายน้ำสู่แม่น้ำโขงจะทำได้เร็วขึ้น แต่หากระดับน้ำในแม่น้ำโขงสูงมากจะส่งผลให้น้ำระบายได้ช้าเช่นกัน







Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.