เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



งานบุญประเพณีบวชนาคช้าง คึกคัก! หลังไม่ได้จัดมา 3 ปี จากพิษโควิค -19 ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 17


15 พ.ค. 2565, 10:39



งานบุญประเพณีบวชนาคช้าง คึกคัก! หลังไม่ได้จัดมา 3 ปี จากพิษโควิค -19 ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 17




งานบุญประเพณีบวชนาคช้าง สุดคึกคัก หลังไม่ได้จัดมา 3 ปี จากพิษโควิค -19 ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 17 มี 10 นาค นั่งบนหลังช้าง เข้าร่วมงานบุญ ช้างร่วมขบวนแห่นับร้อยเชือก แห่จากหมู่บ้าน 4 กิโลเมตร สู่ดอนบวชลำน้ำชี ที่วังทะลุระยะทางกว่า ประกอบพิธีไหว้ศาลปู่ตา ก่อนเข้าพิธีบวช

วันนี้ 14 พฤษภาคม 2565 ที่วัดแจ้งสว่าง บ้านตากลาง หมู่บ้านช้างเลี้ยงที่ใหญ่ที่สุด ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานประกอบพิธี บวชนาคช้าง โดยมีนายรองรัตน์ จงอุตส่าห์ นายอำเภอท่าตูม นางนัทธมน ศิริวัฒนวานิช รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด กล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมงาน กล่าวรายงานจัดงานบวชนาคช้าง โดยมี สุรินทร์ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และชาวกูยคนเลี้ยงช้าง ได้ร่วมกันจัดงานประเพณีบวชนาคช้างประจำปีขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้เป็นการจัดขึ้นครั้งแรก หลังจากที่ไม่ได้จัดงานมาเป็นเวลา 3 ปี จากพิษโควิค- 19 โดยบรรยากาศงานเป็นไปอย่างคึกคักและยิ่งใหญ่ ในปีนี้มีนาค 10 นาค ที่จะเข้าอุปสมบท และนั่งช้างงาสวยและช้างเข้าร่วมพิธีแห่นาคช้างจากวัดแจ้งสว่าง หมู่บ้านตากลางมายังวังทะลุหรือดอนบวช เป็นบริเวณที่ลำน้ำชีไหลมาประจบแม่น้ำมูล ระยะทางจากบ้านตากลาง ไปยังดอนบวช ระยะทาง กว่า 4 กิโลเมตร

เมื่อขบวนแห่นาคช้าง ไปถึงดอนบวช ให้ช้างได้ลงอาบน้ำและเล่นน้ำ ที่จุดทางลงลำน้ำชี เพื่อช้างได้เล่นน้ำ กินน้ำ คลายร้อน และให้ช้างได้มีอารมณ์สดชื่น เพื่อจะเข้าพิธี อีก หลายขั้นตอน จากนั้น ทั้งนาคช้าง และช้าง ประกอบพิธีไหว้บอกกล่าวสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ศาลปู่ตา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ศาลปู่ตา ทายคางไก่ต้ม เครื่องเซนไหว้ ศาลปู่ตา ตามประเพณีที่ถือปฎิบัติกันมา หลายชั่วอายุคน ของชาวตำบลกระโพ ซึ่งเป็นภาพที่เข้มขลัง สวยงามแก่นักท่องเที่ยวและผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก

นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้ทำประกอบพิธีเปิดงานประเพณีบวชนาคช้างประจำปี 2565 พร้อมทั้งกล่าวว่า การจัดงานประเพณีบวชนาคช้าง ประจำปี 2565 ในวันนี้ ต้องยอมรับว่าชาวสุรินทร์ ทั้ง เขมร ลาว กวย เป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรม เป็นของตนเอง โดยเฉพาะชาวไทยกวยหรือชาวส่วยที่เลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ มีเอกลักษณ์ โดดเด่นเฉพาะตน มีความสามารถในการจับช้างป่า คล้องช้างป่ามาฝึกหัดเป็นช้างบ้าน โดยไม่ต้องอาศัยเพนียด ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอันยอดเยี่ยมที่ชนกลุ่มนี้ปฏิบัติสืบต่อ กันมาแต่ดึกดำบรรพ์ เป็นกลุ่มชนที่มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะพิธีกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับช้าง ซึ่งมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ประเพณีบวชนาคช้าง เป็นงานประเพณีสำคัญอีกประเพณีหนึ่งที่สื่อให้เห็น ถึงวิถีชีวิตความผูกพันระหว่างคนกับช้างที่มีต่อกันอย่างเหนียวแน่น ตั้งแต่อดีต กระทั่งปัจจุบัน ถือว่าเป็นงานประเพณีที่มีแห่งเดียวในประเทศไทยและแห่งเดียวในโลก สมควรอย่างยิ่งที่จะช่วยกันอนุรักษ์และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้เป็นที่รู้จักทั้งชาวไทย



และชาวต่างประเทศ นอกจากนี้แล้วการจัดงานประเพณีดังกล่าวยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึง ความรัก ความสามัคคีของคนในท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของลูกหลานอนุซนรุ่นหลังที่ควร อนุรักษ์ เผยแพร่และสืบสานงานประเพณีอันดีงามนี้ให้คงอยู่คู่จังหวัดสุรินทร์สืบไป

สำหรับ งานประเพณีบวชนาคช้าง นับเป็นประเพณีที่ชาวกุยเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์ ได้ถือปฏิบัติมาแต่โบราณ จนถึงปัจจุบัน โดยมี จังหวัดสุรินทร์ อ.ท่าตูม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ได้เข้ามาส่งเสริมให้เป็นจุดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งแต่ละปีจะมีกำหนดจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยแล ต่างประเทศ เข้ามาเที่ยวชมเป็นอย่างมาก โดยประเพณีบวชนาคช้างประเพณีบวชนาคช้าง เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ชาวสุรินทร์ทั้งเขมร ลาว กวยที่นับถือพุทธศาสนาถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา เมื่อลูกชายอายุ ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก่อนที่จะมีเหย้ามีเรือน พ่อแม่ต้องจัดการบวชให้ลูกชายเพื่อศึกษาธรรมวินัยเสียก่อน ประเพณีบวชนาคช้างสมัยก่อนนั้นนับว่าเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่มาก เพราะ


ชายหนุ่มในละแวกเดียวกันจะนัดวันบวชพร้อมกัน โดยเชื่อว่าการบวชนี้ ถ้าจะให้ได้บุญมาก จะต้องนั่งช้างแล้วแห่ไปเป็นระยะทางไกลๆ และมีผู้คนร่วมขบวนแห่นาคเป็นจำนวนมาก ในอดีตชาวกวยบ้านตากลาง และหมู่บ้านใกล้เคียง จะพร้อมใจกันแห่นาคด้วยช้างโดยนาคจะมีการแต่งตัวที่เป็นเอกลักษณ์ สวมชฎา สวมเสื้อแขนยาวสีขาวนุ่งสะโหร่งไหม พร้อมแต่งด้วยผ้า 7 สีอย่างสวยงามนั่งบนหลังช้าง ไปที่วังทะลุ ลำน้ำชีรวมกับแม่น้ำมูล เพื่อทำพิธีเช่นไหว้ศาลปู่ตา และขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ พร้อมประกอบพิธีอุปสมบทบริเวณ "ดอนบวช" ซึ่งเป็นเนินดินกลางแม่น้ำที่เกิดจาก การที่น้ำจากลำน้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูล ทำให้เกิดเนินดินกลางแม่น้ำ ชาวบ้าน เรียกกันว่า "สิมน้ำ" หรือเรียกว่า "ดอนบวช" จนกระทั่งปัจจุบัน โดยจะจัดขึ้นในช่วง ระหว่างวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือนหก เป็นประจำทุกปี ในปีนี้นับเป็นการจัดขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ต้องหยุดไปถึง 3 ปี เนื่องจากพิษของโควิค -19 ซึ่งยังคงความสวยงามและเข้มขลังยิ่งใหญ่ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้าร่วมชมอย่างคึกคัก มีนาค เข้าร่วมขบวนแห่ จำนวน 10 นาค และมีช้างแต่งตัวสวยงาม กว่า 50 เชือก พร้อมทั้งมีพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมขบวนแห่ วิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่นาคช้าง กว่า 500 คน



คำที่เกี่ยวข้อง : #สุรินทร์   #บวชนาคช้าง  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.