เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"องคมนตรี" ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนลำปาว


6 ก.ค. 2565, 15:26



"องคมนตรี" ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนลำปาว




วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 นายอำพน กิตติอำพน องคมนตรีในฐานะรองประธานอนุกรรมการติดตาม และขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เดินทางมาประชุม ณ เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ (นายทรงพล ใจกริ่ม) และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังรายงานและติดตามการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำชีรวมทั้งการเตรียมความพร้อมของส่วน ราชการในการให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรกรณีที่อาจเกิดภัยพิบัติในช่วงฤดูฝน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา นายอำพน กิตติอำพน องคมนตรี ได้เคยร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตาม สถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำชีณ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ในครั้งนั้น กรม อุตุนิยมวิทยาได้เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะมีฝนทิ้งช่วงในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ในวันนี้จึงได้เชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมา



กรมชลประทานได้รายงานให้ที่ประชุมทราบสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนจุฬาภรณ์ และเขื่อนลำปาว มีปริมาณน้ำเก็บกักทั้งสิ้น 1,650 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 36 และช่วงวันที่ 1 มิถุนายน 2565 จนถึงปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลเข้าน้อยกว่าปี2564 ถึง 170 ล้านลูกบาศก์ เมตร ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ประมาณ 3,940 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ปกติประมาณ 190 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 5

กรมอตุนิยมวิทยาได้รายงานว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันปริมาณน้ำฝนตกสะสมน้อยกว่าที่ คาดการณ์ไว้ประมาณร้อยละ 3-4 โดยมีปริมาณน้ำฝนตกสะสมในพื้นที่ลุ่มน้ำชีรวม 539 มิลลิเมตร และ คาดการณ์ว่าปริมาณน้ำฝนในช่วงเดือนกรกฎาคมจะต่ำกว่าเกณฑ์ปกติประมาณร้อยละ 10 เดือนสิงหาคมจะ ใกล้เคียงเกณฑ์ปกติและในเดือนกันยายนจะสูงกว่าเกณฑ์ปกติประมาณร้อยละ 10 ดังนั้น จึงควรระมัดระวัง ปริมาณน้ำฝนในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนที่มีปริมาณมาก อาจทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำหลากในบางพื้นที่


เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ที่ประชุมเห็นสมควร ดำเนินการ ดังนี้

1. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และกรมชลประทาน ควรทบทวนแผนการระบายน้ำในปีนี้ให้ สอดคล้องกับปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนตลอดช่วงฤดูฝนนี้ได้ และมีปริมาณน้ำสำรองเพียงพอ

2. หน่วยงานด้านความมั่นคง จังหวัด และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และส่วนราชการที่ เกี่ยวข้องจัดเตรียมความพร้อมและแผนเพื่อรองรับกรณีเกิดอุทกภัย ให้สามารถเข้าช่วยเหลือ ประชาชนโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็ก และสถานที่ราชการที่ให้บริการประชาชน เช่น โรงพยาบาล และโรงเรียน และจัดเตรียมเครื่องมือในการเร่งรัดการระบายน้ำเพื่อบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยที่ อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ


คำที่เกี่ยวข้อง : #เขื่อนลำปาว   #กาฬสินธุ์  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.