"ผู้ว่าฯสุรินทร์" นำพุทธศาสนิกชน ร่วมกันทำบุญตักบาตรบนหลังช้าง หนึ่งเดียวในโลก ในวันอาสาฬหบูชา
13 ก.ค. 2565, 10:29
วันนี้ (13 กรกฎาคม 65) เวลา 07.20 น. ที่อนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ถนนกรุงศรีนอก ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส เปิดงานตักบาตรบนหลังช้างประจำปี 2565 โดยมีพระพรหมวชิรโมลี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 เจ้าอาวาสวัดศาลาลอย พระอารามหลวง จ.สุรินทร์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายพรชัย มุ่งเจริญพร นายก อบจ.สุรินทร์ หัวหน้าส่วนราชการ เทศบาลเมืองสุรินทร์ ประกอบพิธี ทำบุญตักบาตรการตักบาตรบนหลังช้าง
โดยมีประชาชน และนักท่องเที่ยว จำนวนมาก เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้าง เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชา ซึ่งจัดขึ้นแห่งเดียวในโลก พระเถระชั้นผู้ใหญ่ พร้อมด้วยสงฆ์ จำนวน 70 รูป นั่งหลังช้างจำนวน 36 เชือก เดินออกรับิณฑบาตร จากพุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยว ที่ยืนอยู่บนอัฒจันทร์ จำนวน 4 ซุ้ม ได้ทำบุญตักบาตร ช้างเดินให้พุทธศาสนิกชน ได้สับเปลี่ยน หมุนเวียนกันจำนวนหลายรอบ เพื่อให้ชาวพุทธได้ตักบาตร ด้วยข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม ปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ ขอพรจากพระสงฆ์ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต และเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวไทย รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์
พิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้างแห่งเดียวในโลกในวันอาสาฬหบูชา และ รับวันเข้าพรรษา ในวันนี้ จัดขึ้น เป็นครั้งที่ 14 หลังจากว่างเว้น การจัดงาน มานาน 2 ปี จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด -2019 วันนี้ บรรยากาศการทำบุญตักบาตรบนหลังช้าง คึกคัก เป็นอย่างมาก มีพุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศจำนวนมาก มาร่วมงาน โดยก่อนที่จะประกอบพิธีทางศาสนา ได้มีฝนตกลงมาโปรยปรายตั้งแต่เวลา 06.00 น.และเมื่อถึงเวลา 07.00 น.ฝนหยุดตก ทำให้บรรยากาศร่มเย็น พุทธศาสนิกชนได้พร้อมใจกันทำบุญตักบาตรด้วย จิตอันเป็นกุศลยิ่ง นักท่องเที่ยวได้บริจาคเงินทำ บุญกับช้าง และเลี้ยงอาหารช้าง ถ่ายรูปกับช้างอย่างใกล้ชิด ซึ่งช้างถือว่าเป็น สัตว์ใหญ่ และ สัตว์มงคล ที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาช้านาน
นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง เช่น หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองโบราณบ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง เรียนรู้ ภูมิปัญญาการย้อมสีผ้าไหมจากธรรมชาติของชาวสุรินทร์ และตื่นตาไปกับศิลปะการถักทอเส้นไหมอันสลับซ้อนดิ้นทองผสมผสานลายราชสำ นัก โบราณ จำ นวน 1,416 ตะกอ หมู่บ้านช้าง อำ เภอท่าตูม เรียนรู้วิถีชีวิตชาวกวยหรือกูย ความสัมผัสความผูกพันระหว่างคนกับช้าง ที่เลี้ยงช้างเป็นเสมือนดั่ง
สมาชิกในครอบครัว มากกว่าการเลี้ยงมุ่งเน้นการเลี้ยงช้างไปเพื่อการงานหรือธุรกิจ ปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ ชมภาพสลักนางอัปสราหินทรายที่สวยและ สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย