เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



อาจารย์ ม.มหิดล กาญจนบุรี เผยผลสำเร็จของผู้ที่รับทุนการพัฒนาโมเดลระบบ AI ภาคอุตสาหกรรม จำนวน 5 ผลงาน


10 ส.ค. 2565, 16:08



อาจารย์ ม.มหิดล กาญจนบุรี เผยผลสำเร็จของผู้ที่รับทุนการพัฒนาโมเดลระบบ AI ภาคอุตสาหกรรม จำนวน 5 ผลงาน




วันนี้ 10 สิงหาคม 2565  ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงสมร  มะโนวรรณ   อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต  มหาวิทยาลัยมหิดล  วิทยาเขตกาญจนบุรี  ซึ่งเป็น หัวหน้าโครงการ “พัฒนาศักยภาพทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ผ่านเครือข่ายสารสนเทศสำหรับอุตสาหกรรมไทย” ได้เปิดเผย ถึงความสำเร็จของผู้ที่ได้รับทุนการพัฒนาโมเดลระบบ AI  ภาคอุตสาหกรรม จำนวน 5 ระบบ  ซึ่งประสบความความสำเร็จ และมีการส่งมอบให้ผู้ประกอบการนำไปใช้จริง เรียบร้อย แล้วว่า   

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  ได้ส่งเสริมและสนับสนุน ในการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ผ่านเครือข่ายสารสนเทศสำหรับอุตสาหกรรมไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ให้แก่นิสิต นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ให้สามารถนำโมเดลแห่งปัญญาประดิษฐ์มาช่วยแก้ไขปัญหา ยกระดับ พัฒนาภาคอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทยให้ทัดเทียมกับระดับสากล   โดยเมื่อประกาศรับสมัคร มีนักศึกษาสมัครเข้าร่วมการอบรม (รอบภูมิภาค) ทั้งหมด 243 ราย หรือ 81 ทีมจากทั่วประเทศไทย และมีผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรม (รอบชิงชนะเลิศ) ทั้งหมด 78 ราย หรือ 26 ทีมจากทั่วประเทศไทย  และผ่านการคัดเลือก จำนวน 5 ทีม

ซึ่งโครงการนี้ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้  พัฒนาศักยภาพของตนเอง ในระดับสากล นอกจากนี้  ยังได้เข้ารับการอบรมโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับมืออาชีพ  และคณะกรรมการคัดเลือกทีมชนะเลิศ  ได้รับเกียรติจาก  ผศ.ดร.ปรีชา ต้ังวรกิจถาวร  เป็นประธานในการคัดเลือก พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้อง รวม 6 ท่าน  และคณะกรรมการโดยผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทย รวม  5 ท่าน  ซึ่งทีมที่ได้รับรางวัลและทุนการศึกษาพัฒนาโครงการ  ทั้งหมด 5 ทีม  ซึ่งแต่ละทีมได้นำเงินรางวัลไปพัฒนาโมเดล จนผลงานประสบผลสำเร็จ  และมีการส่งมอบให้ผู้ประกอบการ  เรียบร้อยแล้ว    ดังนี้

1.ระบบการช่วยควบคุมสภาพอากาศและความชื้นของดิน (อุตสาหกรรมการเกษตร)

2.ระบบการวิเคราะห์เส้นทางการขนส่งที่คุ้มค่าเพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย (อุตสาหกรรมการบริการ-โลจิสติกส์)

3. ระบบการคัดแยกขนาด และคุณภาพของไข่ไก่ (อุตสาหกรรมการเกษตร)

4. ระบบการตรวจจับปริมาณนกและผลผลิตของรังนก (อุตสาหกรรมการผลิต หรือภาคอาหารและการแปรรูป)

5.ระบบการควบคุมปริมาณสินค้าคงคลัง (อุตสาหกรรมการผลิต หรือภาคอาหารและการแปรรูป)



และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงสมร มะโนวรรณ   อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต  มหาวิทยาลัยมหิดล  วิทยาเขตกาญจนบุรี  ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรชั้นนำอีกหลายองค์กร   เช่นด้านกลยุทธ์  ด้านการตลาด การจัดการธุรกิจการเงิน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจ ฯลฯ   ได้กล่าวในช่วงท้ายว่า 

ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นเยาวชนไทย มีความสนใจโครงการนี้เป็นจำนวนมาก และภูมิใจอย่างยิ่ง สำหรับการได้เข้ามาดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์ ในการพัฒนาสนับสนุนให้เยาวชนไทย ซึ่งเป็น นิสิต นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพ ทดลอง ค้นคว้า ศึกษาเรียนรู้ ระบบ AI  ที่เป็นประโยชน์ต่อไป ในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)    ที่ได้ส่งเสริมและสนับสนุน ในการดำเนินโครงการที่ดี มีประโยชน์ กับเยาวชนไทย คนรุ่นใหม่ ที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไป “

โครงการดังกล่าว    ได้จัดอบรมการประกวดโมเดลแห่งปัญญาประดิษฐ์ รอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 8 – 12  เมษายน 2565 ที่ผ่านมา  ณ  โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพ







Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.