เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



มพ.พะเยา มอบเทคโนโลยีผลวิจัยลดไขมันในเลือด ให้เอกชนต่อยอด


23 ส.ค. 2565, 13:48



มพ.พะเยา มอบเทคโนโลยีผลวิจัยลดไขมันในเลือด ให้เอกชนต่อยอด




วันที่ 23 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวONBnewsรายงานว่า มหาวิทยาลัยพะเยา ส่งมอบเทคโนโลยีองค์ความรู้ ผลงานวิจัย และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ จากผลการวิจัยนวัตกรรมการลดไขมันในเลือด ด้วยการบริโภคสาหร่ายสไปรุลิน่าไฟโคไซยานินสูง (Blue Spira) ซึ่งช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ที่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา สามารถที่จะค้นพบและใช้ได้กับมนุษย์ ซึ่งไม่มีผลต่อการทำงานของไต เป็นครั้งแรกของไทย เตรียมต่อยอดให้บริษัทเอกชนผลิตเพื่อทำการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคดังกล่าว

 



รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ต้องทำการ ส่งมอบเทคโนโลยีองค์ความรู้ ผลงานวิจัย และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยนวัตกรรมการลดไขมันในเลือด ด้วยการบริโภคสาหร่ายสไปรุสินาไฟโคไซยานินสูง (Blue Spira) กับ บริษัท ซีเอ็มเอซ เชียงใหม่ โซลดิ้ง จำกัด และบริษัท พาว มิราเคิล จำกัด หลังนักวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา ได้คันพบงานวิจัย การเลี้ยงสาหร่ายสไปรุสินา สายพันธุ์ Platensis ด้วยกรรมวิธีพิเศษ เอกสิทธิ์ Blue Spira (บลู สเปียร่า) ซึ่งพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดไฟโคไซยานินที่สูงกว่า ปกติ และได้นำมาทดสอบในมนุษย์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งผลงานวิจัยครั้งนี้ สามารถที่จะลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งโรคต่าง ๆเหล่านี้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะพิการหรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของโลก

รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ระบุว่า ก่อนอื่นทางมหาวิทยาลัยพะเยาต้องขอชื่นชมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ได้ค้นพบงานวิจัยดังกล่าว ซึ่งมหาวิทยาลัยพะเยาด้วยพันธกิจของมหาวิทยาลัยเรา ได้มีการส่งเสริมในเรื่องการพัฒนาศักยภาพกำลังคนแล้ว เรามองเรื่องของงานวิจัย เพราะว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยพะเยาทุกท่าน ต้องมุ่งเรื่องของงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ แต่ตอนนี้โลกได้เปลี่ยนไปมาก บริบทสถานการณ์เปลี่ยนไปเยอะงานวิจัยของอาจารย์ไม่ใช่เพื่อองค์ความรู้และสอนเด็กอย่างเดียว สิ่งที่ต้องให้เกิดคือนวัตกรรมและเอาไปใช้ประโยชน์ได้จริง สิ่งเหล่านี้คือสิ่งสำคัญมากเมื่อมีงานวิจัยแล้ว เราต้องมุ่งเป้าชัดเจนว่าเอาใช้ประโยชน์เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์นอกจากมูลค่าราคาที่ได้นั้น เรามองว่าเศรษฐกิจสังคม ที่จะต้องได้รับนี่คือสิ่งที่สำคัญอยากจะขอเรียนชี้แจงว่าเป็นชิ้นแรกมีภาคเอกชนเข้ามาร่วมในการวิจัยดังกล่าวและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งเชิงพาณิชย์และเรามองไปไกลกว่านั้นว่าชุมชนของเราต้องได้รับประโยชน์กับงานวิจัยดังกล่าว

 

 

 

 

 


ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐภูมิ พรหมณะ ผู้ร่วมวิจัยฯ รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบุว่า การวิจัยดังกล่าวนั้นขอยืนยันว่า Blue Spira (บลู สเปียร่า) ที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยสามารถที่จะลดไขมันเลวได้จริงจากการทดสอบกับมนุษย์ ที่สำคัญที่สุดก็คือไขมันดีในเลือดก็ไม่ได้ลดด้วย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย ที่สำคัญที่สุดก็คือ Blue Spira (บลู สเปียร่า) นั้นปลอดภัยต่อไต ในการทดสอบกับมนุษย์นั้นค่าของไตทำงานปกติ จากการบริโภค สาหร่ายสไปรุสินา Blue Spira (บลู สเปียร่า) เวลาเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 12 สัปดาห์ก็ถือเป็นอีกหนึ่งซุปเปอร์ฟู้ด ที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทย เราจะสามารถช่วยแก้ปัญหาสุขภาพแก้ปัญหาที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของทั่วโลกได้ Blue Spira (บลู สเปียร่า) ดังกล่าวเราได้มีการพัฒนาด้วยนวัตกรรมและยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะสร้างประโยชน์สร้างช่องทางให้กับการใช้ประโยชน์กับสารดังกล่าวที่มีอยู่อีกมากมาย

ขณะที่ ดร.วิทวัส สัจจาพงษ์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯรองคณะบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า อาหารเสริมปัจจุบันมีจำนวนเยอะมาก แต่ว่าการพัฒนางานเสริมพื้นฐานการวิจัยในมนุษย์ จะเป็นปัจจัยสำคัญเพิ่มการยอมรับโดยการรับรู้ถึงประสิทธิผล ซึ่งทางเราได้มีการวิจัยของการบริโภค ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐภูมิ พรหมณะ ผู้ร่วมวิจัยฯ รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ต่อการทำงานของไตและระดับไขมันในเลือดซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจการทำงานของไตเป็นปกติ ซึ่งเราพบว่าก่อนและหลังจากการทดลองกับอาสาสมัครเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ในปริมาณ 2 กรัมต่อวัน พบว่าการทำงานของไตปกติใน ขณะที่ยังสามารถให้ผลในการที่จะลดระดับ คอเรสเตอรลอล ที่เป็นไขมันเลวได้มีอย่างนัยยะสำคัญ ซึ่งคิดว่า Blue Spira (บลู สเปียร่า) น่าจะเป็นตัวที่จะไปลดไขมันเลว ซึ่งเป็นสาเหตุของเกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ซึ่งนำไปสู่โรคต่างๆไขมันอุดตันในสมอง โรคหัวใจได้ซึ่งเป็นสาเหตุของการตายของคนไทยในปัจจุบัน

ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริศักดิ์ ประสานพันธ์ คณะบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า โรคเอ็นซีดี หรือชาวบ้านเข้าใจง่ายง่ายคือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นว่าสถิติของการเกิดโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกปี ในประชากรของคนไทยก็เช่นกันกระทรวงสาธารณสุขได้เก็บรายงานของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นทุกปีและหากดูในเรื่องของอัตราการตายเท่าที่เก็บสถิติมาตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2562 ตอนนี้เราดูสาเหตุของการเสียชีวิต 73% ของสาเหตุการเสียชีวิตนั้นมีสาเหตุมาจากโรคเอ็นซีดี เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นซึ่งปัจจัยต่างๆที่เรามีความเสี่ยงทั้งพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการใช้ชีวิต สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ก่อให้เกิดความเครียดมากขึ้น ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุเพราะฉะนั้นถ้าหากว่าเราสามารถที่จะใช้ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เรามีอยู่ในประเทศของเรามาต่อยอดมาพัฒนาที่ช่วยลดตรงนี้ได้ ก็จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของอัตราการเกิดโรคอัตราการตายของประชากรได้ด้วย

ด้าน ดร.อภิชาติ ชุมนานนท์ ผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ระบุว่า คือจริงๆด้วยความที่เป็นคนที่ดูแลสุขภาพมา ก็เห็นปัญหาของโรคนี้โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดอุดตันและไขมันไม่ดีหรือไขมันเลว รวมถึงน้ำตาล โดยตนเองก็มีประสบการณ์เกิดครอบครัวคือคุณพ่อได้เสียชีวิตเนื่องจากไขมันอุดตันในเส้นเลือด จึงได้มีการคุยกับนักวิจัย ว่าเราจะมีสมุนไพรใดหรือมีพืชใดที่มีคุณค่าที่เราจะสามารถนำมาวิจัยและพัฒนาต่อยอด ก็มองไปที่ สาหร่าย สไปรุลินา Blue Spira (บลู สเปียร่า) ที่ได้วิจัยมาเสร็จสิ้นแล้ว และได้มีการพัฒนาขีดศักยภาพ เพิ่มมากขึ้น หรือเรียกว่ามีความสามารถที่ดีขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญเราได้มีการทดลองทำงานวิจัยกับร่วมกับทางมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งเป็นครั้งแรกของของประเทศไทย เราก็ว่าได้ ทำการทดลองและเห็นคุณค่าเราก็มีการทดลองจริงกับมนุษย์ ผลที่ออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจสามารถลดไขมันเลวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นงานเทคโนโลยีแรก ที่เราจะพัฒนา นวัตกรรมดังกล่าว เป็นระบบนิเวศให้เกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่งานวิจัยงานพัฒนาและเมื่อนำมาใช้งาน สิ่งที่สำคัญก็จะเกิดอาชีพให้กับเกษตรกรผู้เพาะปลูกได้ด้วย ซึ่งตรงนี้ก็จะมีการพัฒนาต่อยอดให้ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยดังกล่าวสามารถที่จะใช้ได้

 

 

 

 

 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.