ผอ.โครงการชลประทานโคราช เตือน! เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก หลังปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มสูงขึ้น
7 ก.ย. 2565, 20:50
วันที่ 7 กันยายน 65 นาย กิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา สำนักงานชลประทานที่ 8 ได้เปิดเผยถึง การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำและลุ่มน้ำในเขตจังหวัดนครราชสีมา กับผู้สื่อข่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าในปีนี้ถือได้ว่าฤดูฝนมาเร็ว และปัจจุบันปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในอ่างต่าง ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา อยู่ที่ประมาณ 906 มิลิเมตร ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,100 หรือประมาณ 88 % ขณะที่ ณ ตอนนี้เข้าสู่เดือนกันยายนแต่มีปริมาณฝนมาเกือบ 90 % แล้ว ทำให้มีปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่าง อยู่ที่ประมาณ 781 ล้าน ลบ.ม. หรือ 62 % เฉลี่ยทั้งปี ดังนั้นทาง โครงการชลประทานนครราชสีมา สำนักงานชลประทานที่ 8 จึงได้มีการบริหารจัดการน้ำ มีการส่งน้ำเพื่อการเกษตร และส่งน้ำนอกเขตชลประทานเพื่อให้น้ำที่จะต้องพล่องลงมาเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับภาคการใช้น้ำต่าง ๆ มีการปล่อยน้ำลงมาปัจจุบันสะสมอยู่ที่ประมาณ 1,022 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเกือบเท่ากับน้ำท่าที่เข้ามาในอ่างเก็บน้ำ ทำให้ปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง ขนาดกลาง 23 แห่ง อยู่ที่ 827 ล้าน ลบ.ม. จากความจุทั้งหมด 1,216 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 17 %
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทั้ง 4 แห่ง ไม่มีปัญหาอะไร เพราะส่วนใหญ่จะอยู่ที่ค่าประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ของความจุ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 23 แห่ง ปัจจุบันยังมีการไหลผ่านทางระบายน้ำฉุกเฉิน อยู่ 3 แห่ง ได้แก่อ่างเก็บน้ำลำเชียงสา อ่างเก็บน้ำยางพะไล อ่างเก็บน้ำห้วยสะกาด และยังมีอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำระหว่าง 80 -100 % มีอยู่จำนวน 8 แห่ง คือ อ่างฯหห้วยบ้านยาง อ่างห้วยยาง อ่างฯลำสำลาย อ่างฯบ้านสันกำแพง อ่างฯห้วยน้ำเค็ม อ่างฯบึงกระโตน อ่างฯห้วยบง อ่างฯลำฉมวก ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่ามีปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างฯ มีค่อนข้างมาก ดังนั้นการบริหารจัดการต้องพยายามรักษาระดับให้อยู่ใกล้เคียงกับเกณฑ์ในการควบคุมน้ำในอ่างฯ ซึ่งเกิดมาจากสถิติต่าง ๆ
ซึ่งหากมีการเก็บกักน้ำฝนปริมาณที่มากเกินไปก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย แต่หากเก็บกักน้ำในปริมาณที่น้อยเกินไปหรือต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในฤดูกาลถัดไป ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำในอ่างฯก็ยังคงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะทาง โครงการชลประทานนครราชสีมา สำนักงานชลประทานที่ 8 ได้มีการรักษาระดับใรการควบคุมน้ำในอ่างฯให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอยู่ ส่วนอ่างเก็บน้ำที่ล้นก็จะมีการบริหารจัดการด้วยการหาจังหวะในห้วงที่ปลอดฝน หรือช่วงที่ฝนทิ้งช่วงฝทำการปล่อยน้ำ เพื่อให้ปริมาณน้ำอยู่ในระดับที่ควบคุม ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำในอ่างฯทั้ง 27 แห่งก็ยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่จะทำให้ต้องวิตกกังวล แต่เพื่อเป็นการเฝ้าระวังจากสถานการณ์จากน้ำฝนที่มาไว ในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีฝนตกซ้ำ ก็จะทำให้เกิดดินอิ่มน้ำ และช่วงนี้เป็นช่วงที่มรสุมกำลังแรงและมีความกดอากาศสต่ำ เป็นไปตามที่กรมอุตุฯคาดการณ์โดยเฉพาะในภาคอีสาน ก็ต้องมีการเฝ้าระวังเพราะหากเกิดฝนตกต่อเนื่องสะสมมาก ๆ ก็ต้องเฝ้าระวังในเรื่องของน้ำป่าไหลหลากด้วย เนื่องจากปีนี้ฝนได้ตกในลักษณะที่เป็นจุด ๆ และมีความเข้มสูงคือมีการตกเป็นช่วงเวลาไม่มากนักแต่มีปริมาณน้ำมาก ดังนั้นจึงต้องเฝ้าระวังในเรื่องของน้ำป่าไหลหลากด้วย และควรติดตามสถานกาณณ์น้ำอย่างใกล้ชิด