ม.ราชภัฏสุรินทร์ ร่วมหลายหน่วยงาน ขับเคลื่อนการยกระดับระบบบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
15 ก.ย. 2565, 13:07
วันนี้ (วันที่ 15 กันยายน 2565) ห้องประชุมบันทายศรี ชั้น 3 อาคาร 44 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ นางทรงลักษณ์ วรภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิด การประชุมการขับเคลื่อนการยกระดับระบบบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
จังหวัดสุรินทร์ สู่การดำรงชีพอย่างยั่งยืน โดยมีผศ.กนก โตสุรัตน์ ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ผศ.ดร.นภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย คณบดีคณะวิทยาการจัดการ หัวหน้าโครงการวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ชาญ ณ ลำปาง รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน วิจัยและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม การดำเนินโครงการวิจัยการยกระดับระบบบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดสุรินทร์สู่การดำรงชีพอย่างยั่งยืน จำนวน 29 หน่วยงาน ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์
ผศ.กนก โตสุรัตน์ ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กล่าวว่า โครงการวิจัยการยกระดับระบบบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดสุรินทร์ สู่การดำรงชีพอย่างยั่งยืน เป็นโครงการต่อเนื่องระยะที่ 3 พร้อมทั้งขอบคุณหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดสุรินทร์ ผู้บริหารและแขกผู้มีเกียรติทุกท่านที่มาร่วมการประชุมในวันนี้ โครงการวิจัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. ซึ่งมีนโยบายสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ ร่วมกับภาคีเครือข่ายระดับประเทศ จังหวัด และหน่วยงานท้องถิ่น รวมถึงภาคประชาสังคม
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบค้นหาและสอบทานครัวเรือนยากจนที่มีการนำเข้าข้อมูลคนจนสู่ระบบจำแนกประเภทคนจน รวมทั้งการนำคนจนที่ได้รับการช่วยเหลือแล้วออกจากระบบ และสร้างระบบข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Loop) ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดสุรินทร์ และพัฒนาโมเดลแก้จน (Operating Model) ระดับพื้นที่ให้คนจนหลุดพ้นความยากจน ตามกรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework; SLF) ด้วยการบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหนักปรัชญาของเศรษฐกิจพองเพียงจังหวัดสุรินทร์ (ศจพ.จ.สร.) และคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์
ด้าน นางทรงลักษณ์ วรภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ การขับเคลื่อนการยกระดับระบบบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดสุรินทร์สู่การดำรงชีพอย่างยั่งยืน ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องของโครงการการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดสุรินทร์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ระยะที่ 3 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบค้นหาและสอบทานครัวเรือนยากจนที่มีการนำเข้าข้อมูลคนจนสู่ระบบจำแนกประเภทคนจน รวมทั้งการนำคนจนที่ได้รับการช่วยเหลือแล้วออกจากระบบ และสร้างระบบข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Loop) ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดสุรินทร์ และพัฒนาโมเดลแก้จน (Operating Model) ระดับพื้นที่ให้คนจนหลุดพ้นความยากจน ตามกรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework; SLF) ด้วยการบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหนักปรัชญาของเศรษฐกิจพองเพียงจังหวัดสุรินทร์ (ศจพ.จ.สร.) และคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์
ทางด้าน นางทรงลักษณ์ วรภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ การขับเคลื่อนการยกระดับระบบบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดสุรินทร์สู่การดำรงชีพอย่างยั่งยืน ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องของโครงการการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดสุรินทร์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ระยะที่ 3 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบค้นหาและสอบทานครัวเรือนยากจนที่มีการนำเข้าข้อมูลคนจนสู่ระบบจำแนกประเภทคนจน รวมทั้งการนำคนจนที่ได้รับการช่วยเหลือแล้วออกจากระบบ และสร้างระบบข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Loop) ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดสุรินทร์ และพัฒนาโมเดลแก้จน (Operating Model) ระดับพื้นที่ให้คนจนหลุดพ้นความยากจน ตามกรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework; SLF) ด้วยการบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหนักปรัชญาของเศรษฐกิจพองเพียงจังหวัดสุรินทร์ (ศจพ.จ.สร.) ที่ ได้แก่ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และหน่วยงานต่างๆ รวมถึงประชาชนในพื้นที่ที่ให้ความร่วมมือบูรณาการการทำงานร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจน ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมส่งผลให้ประชากรกลุ่มยากจนในจังหวัดสุรินทร์ได้รับบริการและความช่วยเหลือให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถเข้าถึงทรัพยากรการศึกษา สวัสดิการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้อย่างเท่าเทียม และหลุดพ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน ต่อไป
ในที่ประชุม ได้มีการชี้แจงการขับเคลื่อนการยกระดับระบบบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดสุรินทร์สู่การดำรงชีพอย่างยั่งยืน การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในปี 2563-ปัจจุบัน ปฏิทินกิจกรรมการขับเคลื่อนการยกระดับระบบบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดสุรินทร์สู่การดำรงชีพอย่างยั่งยืนเพื่อการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ระบบค้นหา สอบทาน จำแนก และข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Loop) นำคนจนที่ได้รับการช่วยเหลือแล้วออกจากระบบ โดย คณะผู้วิจัย
ระบบส่งต่อความช่วยเหลือของระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจน จังหวัดสุรินทร์ แลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดสุรินทร์สู่การดำรงชีพอย่างยั่งยืสรุปสะท้อนความคิดเห็น โดยคณะทีมงานวิจัย และผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา