รองโฆษกฯ เผย ! ผลสำเร็จของรัฐบาล ฟื้นฟูผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 เกิดผลเป็นรูปธรรม ประชาชนพึงพอใจ
30 ก.ย. 2565, 11:02
วันนี้(30 ก.ย. 65) นางสาวทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-19) ที่เริ่มมีการระบาดในประเทศไทยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และมีการระบาดอยู่จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือนของประชาชน โดยเฉพาะด้านปากท้อง ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินมาตรการการคลังเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบจาการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้า ดังนี้
1.มาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศและเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และประชาชนทั่วไป ได้แก่ โครงการเราไม่ทิ้งกัน เพื่อช่วยเหลือเยียวยาให้กับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดประกอบกิจการของสถานประกอบการที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ โดยชดเชยรายได้ให้แก่ผู้ได้รับสิทธิ จำนวน 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เดือนเมษายน -มิถุนายน 2563) รวมเป็นเงินจำนวน 15,000 บาทต่อคน มีผู้ได้รับสิทธิประมาณ 15.27 ล้านคน คิดเป็นวงเงินประมาณ 228,919 ล้านบาท
2.โครงการช่วยเหลือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเยียวยาจากโครงการใดๆ ของภาครัฐในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้กลุ่มคนดังกล่าว มีรายได้ลดลงและไม่สามารถหารายได้จากแหล่งอื่นมาทดแทนได้ โดยจ่ายเงินเยียวยา จ่านวน 1,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2563) รวมเป็นเงิน จำนวน 3,000 บาทต่อคน มีผู้ได้รับสิทธิตามโครงการ จำนวน 1.03 ล้านคน คิดเป็นวงเงินประมาณ 3,080 ล้านบาท
3.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นการช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้าบริโภคอุปโภคที่จำเป็นจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) ให้แก่ผู้มีบัตรฯ จำนวน 14 ล้านคน เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาแล้วรวม 4 ระยะ เพื่อให้การช่วยเหลือ เยียวยา และลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่กลุ่มผู้มีบัตรฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ระยะที่ 1 เดือนตุลาคม - เดือนธันวาคม 2563 ช่วยเหลือในวงเงินจ่านวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน ระยะที่ 2 เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม 2564 ช่วยเหลือในวงเงินจ่านวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน ระยะที่ 3 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2564 ช่วยเหลือในวงเงิน จ่านวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน และระยะที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2565 ช่วยเหลือในวงเงิน จ่านวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน
4.โครงการคนละครึ่ง เป็นโครงการที่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายร้อยละ 50 สำหรับการซื้ออาหาร เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป ไม่รวมถึงสลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ โดยจะต้องช่าระเงินผ่านระบบช่าระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) บนแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการที่ติดตั้งแอปพลิเคชัน "ถุงเงิน" ปัจจุบันดำเนินงานไปแล้ว 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน 10 ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน ระยะเวลาการใช้สิทธิตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2563 ระยะที่ 2 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน 15 ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,500 บาทต่อคน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2564 ระยะที่ 3 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน 31 ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่าย ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 1,500 บาท ต่อคน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2564 ระยะที่ 4 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการจากระยะที่ 3 และลงทะเบียนใหม่ 1 ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่าย ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 1,200 บาทต่อคน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์-30 เมษายน 2565
5.มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของสถาบันการเงินเฉพาะกิจสำหรับลูกค้ำรายย่อย ประกอบด้วย โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินสำหรับผู้มีอาชีพอิสระและผู้มีรายได้ประจำที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 วงเงินรวม 25,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อกู้ภัยโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ วงเงิน 20,000 ล้านบาท มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ส่าหรับผู้มีรายได้ประจำประกอบอาชีพอิสระ และเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตร วงเงิน 20,000 ล้านบาท (ธ.ก.ส.) และมาตรการภาษี เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และบรรเทาผลกระทบประกอบด้วย มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสาหรับที่อยู่อาศัย โดยการลดค่าธรรมเนียมการโอนจากร้อยละ 2 ลงเหลือร้อยละ 0.01 และลดค่าธรรมเนียมการจานองจากร้อยละ 1 ลงเหลือร้อยละ 0.01 มาตรการขยายเวลาลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน (ถึง 30 มิถุนายน 2565) การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 การยกเว้นอัตราค่าปรับเป็นอัตราร้อยละ 0 สำหรับงานก่อสร้างของภาครัฐที่มีการส่งมอบงานงวดสุดท้าย จนถึง 30 มิถุนายน 2565 มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบและไพ่ สาหรับการต่ออายุใบอนุญาตของสถานประกอบการเดิมในปี 2565