เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



นพ.สสจ.ศรีสะเกษ เผย! ชาวบ้านเป็นโรคน้ำกัดเท้าพุ่งสูงเป็นอันดับ 1 หลังเกิดน้ำท่วมป้องกันได้ด้วยการเช็ดเท้าให้แห้ง


8 ต.ค. 2565, 05:51



นพ.สสจ.ศรีสะเกษ เผย! ชาวบ้านเป็นโรคน้ำกัดเท้าพุ่งสูงเป็นอันดับ 1 หลังเกิดน้ำท่วมป้องกันได้ด้วยการเช็ดเท้าให้แห้ง




เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 65  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านหนองบัวไชยวาน ต.โนนสัง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ  นพ.ทนง  วีระแสงพงษ์  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  พร้อมด้วย  นพ. พิเชษฐ์ จงเจริญ  รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  นพ.อดุลย์  โบจรัส  ผอ.รพ.กันทรารมย์ ได้นำคณะแพทย์ พยาบาล เดินทางโดยรถยนต์ทหารและรถแทรคเตอร์ นำเอาเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม ยารักษาโรค ไปมอบให้กับชาวบ้านหนองบัวไชยวาน จำนวน 3 หมู่บ้านที่กำลังประสบภัยน้ำท่วมรอบหมู่บ้าน ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก  ซึ่ง นพ.ทนง ได้นำคณะแพทย์ไปเยี่ยมและทำการตรวจรักษาชาวบ้านที่เจ็บป่วยต่าง ๆ มอบยารักษาโรคให้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยติดเตียง นพ.ทนง ได้นำคณะแพทย์เข้าไปดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยความห่วงใยอย่างเต็มที่ โดยมี  นายทองวรรณ  จิตโชติ  นายก  อบต.โนนสัง พร้อมด้วย ผู้นำชุมชน อสม. มาคอยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมและตรวจรักษาผู้ป่วยที่ประสบภัยน้ำท่วมในครั้งนี้



นพ.ทนง  วีระแสงพงษ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จากการที่เกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่  จ.ศรีสะเกษ  เป็นบริเวณกว้างในขนาดนี้นั้น ปรากฏว่าขณะนี้ประชาชนชาวศรีสะเกษกำลังป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้าจำนวนมากเป็นอันดับ 1 ของ จ.ศรีสะเกษ  ประมาณ 90 % ของผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลทุกแห่ง ซึ่งตอนนี้ตนจะเน้นในการเข้าไปดูแลผู้ป่วยที่ศูนย์อพยพทุกแห่งและกลุ่มที่ติดอยู่ในบ้านในพื้นที่น้ำท่วมที่ออกมาไม่ได้ ในจุดพักพิงนี้ซึ่งไม่ได้อยู่บ้านออกมาไม่ได้ ไม่ได้รับความสะดวกทั้งด้านอุปโภค บริโภค เราได้ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่และหน่วยปฐมพยาบาลออกไปตรวจเยี่ยม ซึ่งระหว่างตรวจเยี่ยมใครมีอาการเจ็บป่วยอะไรเราก็เข้าไปดูแลรักษาพยาบาลให้ อีกกลุ่มหนึ่งก็คือกลุ่มที่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่แล้วก็ได้มอบนโยบายให้ทุกแห่งห้ามมิให้ผู้ป่วยขาดยาอย่างเด็ดขาดเนื่องจากว่าเป็นโรคที่จะต้องกินยาต่อเนื่องส่วนใหญ่การขาดยาก็คือยาหมดไม่สามารถที่จะเดินทางออกมารับการรักษาพยาบาลได้ หรือมารับยาที่โรงพยาบาลไม่ได้ หรือ รพ.สต.ได้ ตนได้สั่งการให้ทีม รพ.สต.ที่มีรายชื่อผู้ป่วยอยู่แล้วและได้รับการติดต่อจากตัวผู้ป่วยเองจัดการนำเอายาไปส่งมอบให้ที่ศูนย์พักพิงและที่อยู่ที่บ้าน และส่วนหนึ่งก็คือมียาอยู่แต่พอดีดีน้ำท่วม มาอยู่ที่ศูนย์พักพิงไม่ได้เอายาออกมาจากบ้านทำให้ไม่ได้กินยาอย่างต่อเนื่อง ตนก็ได้เน้นย้ำให้นำเอายาไปเพิ่มเติมให้แก่ผู้ที่มีโรคประจำตัวทำให้ผู้ป่วยได้มียากินต่อเนื่อง ส่วนผู้ป่วยติดเตียงที่มีอยู่จำนวนมากแต่ละพื้นที่ เราก็ได้ให้ทางแพทย์ออกไปประเมินถ้าเปรียบเทียบแล้วสถานที่พักพิง มีความเสี่ยงไม่ได้รับความปลอดภัยก็จะให้ออกมายังสถานที่ที่ปลอดภัยกว่า เช่นอาจจะเป็นจุดพักพิงที่มีสถานที่รั้วรอบขอบชิด โดยไม่ต้องออกมาที่โรงพยาบาลก็ได้  น้ำท่วมในระยะแรกอาจยังไม่มีเชื้อโรคมาก แต่เมื่อกลายเป็นน้ำขังก็จะสกปรกและมีเชื้อโรคมากขึ้น น้ำจึงเป็นที่มาของเชื้อโรคชนิดต่างๆ และหากต้องเดินย่ำน้ำแต่ละวันเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งมีโอกาสป่วยด้วยโรคที่มากับน้ำท่วมมากขึ้น โรคอาจมากับน้ำท่วมเช่น โรคผิวผนัง โรคเท้าเปื่อย โรค ท้องร่วง โรคฉี่หนู โรคตาแดง และโรคเครียด เป็นต้น  ซึ่งโรคน้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุต จะมีอาการคันซึ่งเกิดจากเชื้อราที่เท้า เมื่อเท้าเปียก ๆ ชื้น ๆ จะเป็นบ่อเกิดของเชื้อราที่เรียกว่า Dermatophytes เนื่องจากเชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น มักเป็นจากเท้าที่เปียกๆ ชื้นๆ บ่อยๆ แล้วไม่ดูแลรักษาความสะอาดให้ดี ทำให้คันตามซอกนิ้วเท้าและผิวหนังลอกออกเป็นขุย ๆ เป็นผื่นที่เท้า ที่พบบ่อยจะเกิดตรงซอกนิ้ว แต่ก็สามารถลุกลามไปถึงฝ่าเท้าและเล็บได้ การรักษาโรคราที่เท้า ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง ใส่ถุงเท้าที่สะอาดและไม่เปียกชื้น ใช้ครีมรักษาเชื้อราทา การป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงการแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ  ถ้าจำเป็นจะต้องเดินลุยน้ำหรือแช่น้ำควรสวมรองเท้าบู๊ท







Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.