ปภ.เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 33 จังหวัด
12 ต.ค. 2565, 13:06
วันที่ 12 ต.ค.65 เวลา 10.30 น. ปภ.รายงานผลกระทบจากฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ยังมีพื้นที่เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง รวม 33 จังหวัด 157 อำเภอ 881 ตำบล 5,409 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 224,774 ครัวเรือน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางบางจังหวัดมีแนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น ประสานจังหวัดดูแลผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องและระดมกำลังเร่งระบายน้ำอย่างเต็มกำลัง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานผลกระทบจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย รวมถึงพายุโนรู ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากและมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับมีการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง โดยช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 8 ต.ค. 65 เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รวม 56 จังหวัด 267 อำเภอ 1,289 ตำบล 7,663 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 270,315 ครัวเรือน
ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ รวม 27 จังหวัด ได้แก่ ตาก เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ลพบุรี นครปฐม นครนายก ปราจีนบุรี เพชรบุรี และราชบุรี รวม 143 อำเภอ 847 ตำบล 5,348 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 224,687 ครัวเรือน ดังนี้
1. ตาก น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก และอำเภอเมืองตาก รวม 5 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 705 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2. เพชรบูรณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีเทพ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน และอำเภอหนองไผ่ รวม 61 ตำบล 522 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,279 ครัวเรือน เสียชีวิต 1 ราย ระดับน้ำลดลง
3. พิจิตร น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอวชิรบารมี อำเภอทับคล้อ อำเภอบึงนาราง อำเภอบางมูลนาก อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอตะพานหิน อำเภอโพทะเล และอำเภอโพธิ์ประทับช้าง รวม 56 ตำบล 330 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,416 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
4. นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอท่าตะโก อำเภอโกรกพระ อำเภอตาคลี และอำเภอชุมแสง รวม 36 ตำบล 328 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,699 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
5. ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ และอำเภอจัตุรัส รวม 10 ตำบล 24 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 648 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
6. ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอชนบท อำเภอน้ำพอง อำเภอโคกโพธิ์ชัย อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอแวงใหญ่ รวม 13 ตำบล 48 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 120 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
7. มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน รวม 43 ตำบล 489 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,320 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
8. กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท อำเภอยางตลาด และอำเภอฆ้องชัย รวม 8 ตำบล 11 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 60 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
9. ร้อยเอ็ด น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโพนทราย และอำเภอจังหาร รวม 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,369 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
10. ยโสธร น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอค้อวัง อำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอเมืองยโสธร รวม 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
11. นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสูงเนิน และอำเภอชุมพวง รวม 11 ตำบล 28 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,195 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
12. บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก อำเภอนางรอง อำเภอปะคำ อำเภอกระสัง อำเภอคูเมือง อำเภอลำปลายมาศ อำเภอแคนดง รวม 55 ตำบล 344 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,255 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
13. สุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี อำเภอสำโรงทาบ อำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอจอมพระ รวม 32 ตำบล 240 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 22,179 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
14. ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอยางชุมน้อย อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภออุทุมพรพิสัย และอำเภอราษีไศล รวม 17 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,301 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
15. อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอเดชอุดม อำเภอดอนมดแดง อำเภอสำโรง อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอเขื่องใน และอำเภอตระการพืชผล รวม 28 ตำบล 135 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,076 ครัวเรือน อพยพประชาชน 205 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 85 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
16. หนองบัวลำภู น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอโนนสัง รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
17. อุทัยธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุทัยธานี อำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอทัพทัน อำเภอห้วยคต อำเภอบ้านไร่ อำเภอหนองขาหย่าง อำเภอลานสัก และอำเภอหนองฉาง รวม 57 ตำบล 460 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,946 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
18. ชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรพยา อำเภอหนองมะโมง และอำเภอหันคา รวม 30 ตำบล 145 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,292 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
19. สิงห์บุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง รวม 12 ตำบล 58 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,033 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
20. อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง และอำเภอโพธิ์ทอง รวม 34 ตำบล 132 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,426 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
21. พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะหัน อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอมหาราช และอำเภออุทัย รวม 150 ตำบล 951 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 64,812 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
22. ปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 64 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,926 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
23. ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอชัยบาดาล อำเภอบ้านหมี่ อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง และอำเภอโคกสำโรง รวม 30 ตำบล 113 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,673 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
24. นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนครชัยศรี อำเภอบางเลน อำเภอสามพราน อำเภอเมืองนครปฐม อำเภอกำแพงแสน อำเภอดอนตูม อำเภอพุทธมณฑล รวม 37 ตำบล 224 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,976 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
25. นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา และอำเภอองครักษ์ รวม 28 ตำบล 182 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,111 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
26.นนทบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด อำเภอเมืองนนทบุรี และอำเภอบางใหญ่ รวม 21 ตำบล 120 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,982 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
27. ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ์ อำเภอบ้านสร้าง และอำเภอศรีมโหสถ และรวม 42 ตำบล 274 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,876 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบจากสถานการณ์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในวันที่ 9 ต.ค. 65 ทำให้มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 8 จังหวัด รวม 16 อำเภอ 38 ตำบล 68 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 197 ครัวเรือน
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 6 จังหวัด รวม 14 อำเภอ 34 ตำบล 61 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 87 ครัวเรือน ได้แก่
28. ลำปาง เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอเกาะคา รวม 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
29. ฉะเชิงเทรา เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอสนามชัยเขต รวม 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 30 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
30. ระยอง เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองระยอง และอำเภอบ้านฉาง รวม 6 ตำบล 6 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
31. กาญจนบุรี เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอบ่อพลอย อำเภอท่าม่วง อำเภอพนมทวน อำเภอท่ามะกา และอำเภอไทรโยค รวม 13 ตำบล 24 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
32. ราชบุรี เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลวังเย็น และตำลบางแพ อำเภอบางแพ ระดับน้ำลดลง
33. เพชรบุรี เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอำ อำเภอท่ายาง และอำเภอเมืองเพชรบุรี รวม 11 ตำบล 24 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”