เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



สุดยอดเจ้าอาวาสวัดตะคร้ำเอนไอเดียเจ๋งมาก สร้างเตานึ่งข้าวต้มมัดขนาดใหญ่ครั้งละ 1 หมื่นมัด


16 ต.ค. 2565, 14:03



สุดยอดเจ้าอาวาสวัดตะคร้ำเอนไอเดียเจ๋งมาก สร้างเตานึ่งข้าวต้มมัดขนาดใหญ่ครั้งละ 1 หมื่นมัด




วันนี้ 15 ต.ค. 2565 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ได้เดินทางไปยังวัดตะคร้ำเอน หรือวัดหลวงพ่อดำ ตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี พบชาวบ้านกว่า 300 คน ไปร่วมจัดเตรียมข้ามต้มมัดกว่า 1 หมื่นมัด เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนที่เดินทางไปร่วมทอดกฐิน ในเทศกาลออกพรรษา โดยสุดยอดกระทะนิ่งข้าวต้มมัดมีขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งมีการนำข้าวต้มมัดใส่เพื่อเตรียมนิ่ง โดยรับทราบว่าเตานี้สามารถต้มได้ครั้งละกว่า 1 หมื่นมัด การต้มด้วยการใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ติดหัวเตารอบๆ ประมาณ 20 หัวติดตั้งอยู่รอบๆเตา และใช้เวลาต้มประมาณ 2 ชั่วโมง ข้าวต้มมัดจะสุก น่าทึ้งมากๆ คือทราบจากชาวบ้านและกรรมการของวัดตะคร้ำเอน ว่างานการสร้างเตานี้ รวมไปถึงงานก่อสร้างปรับปรุงศาลาภายในวัดแห่งนี้ ก็จะเป็นแนวคิดของเจ้าอาวาสทั้งสิ้น ท่านเป็นผู้ออกแบบเอง เขียนแบบเอง แล้วให้ช่างเป็นผู้สร้างตามแบบ ตามแนวคิด ของเจ้าอาวาสทั้งหมด ซึ่งถือว่าท่านเป็นพระนักพัฒนาท่านหนึ่ง จนทำให้ชาวบ้าน ตะคร้ำเอน และนักท่องเที่ยวไปสักการะหลวงพ่อดำ ต้องยอมรับว่าท่านเป็นมากกว่าพระเจ้าอาวาสจริงๆ

 

ผู้สื่อข่าวได้ขอเข้าพบกับ พระครูวิศาลกาญจนกิจ (รองเจ้าคณะอำเภอท่ามะกา) เจ้าอาวาสวัดตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี สอบถามหลวงพ่อจบอะไรมา ก็ได้รับแจ้งว่าอาตมาไม่ได้จบอะไร แค่เพียงครูพัก ลักจำ มาแล้วก็นำมาสร้างทั้งเตาขนาดใหญ่นี้ไว้ใช้ภายในวัด เมื่อมีการจัดงานประกอบอาหาร ขนมต่างๆ ครั้งละมากๆ เพื่อไว้แจกจ่ายประชาชนที่เข้ามาร่วมทำบุญ ได้มีรับประทานกัน รวมไปถึงงานการก่อสร้างต่างภายในวัดแห่งนี้ เริ่มแรกตนเองอยู่วัดอื่น เมื่อได้เข้ามาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดตะคร้ำเอน ก็ได้มีการพัฒนาทุกอย่างให้เกิดการพัฒนา เนื่องจากวัดแห่งนี้นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวไม่ขาดสาย มาสักการะหลวงพ่อดำ ซึ่งอยู่หน้าพระอุโบสถ์ และในช่วงเกิดโควิด 19 มาทางวัดไม่ได้จัดกิจกรรมใดๆเลย เพิ่งมาเริ่มในปีนี้ แต่ก็ต้องก็ยังระวังป้องกันมาตรการต่างๆ เข็มไว้เช่นเดิม

 

โอกาสนี้พระครูวิศาลกาญจนกิจ เจ้าอาวาส ได้พาชมศาลาที่เพิ่งปรับปรุงสร้างเสร็จแล้วจัดกิจกรรมทอดกฐินครั้งนี้เป็นครั้งแรก มีจัดเตรียมสถานที่เพื่อรับประชาชนที่เป็นเจ้าภาพทอดในวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2565เวลา 9.00 น. โดยญาติโยมได้จัดกองกฐินกองละ 1,000 บาท มาร่วมทอดพร้อมกัน ที่หน้าศาลาการเปรียญ เวลา 9.30 น. จะตั้งขบวนแห่กฐินรอบพระอุโบสถ 3 รอบ เสร็จแล้วขึ้นบนศาลาเวลา 10.00 น. พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ฉลององค์กฐินเวลา 10.30 น. ทำการถวายผ้ากฐิน หลังถวายผ้ากฐินแล้ว ถวายภัตตาหารเพล พร้อมด้วยญาติโยมเปิดโรงทานอาหารกันร่วมกัน ก็เป็นอันเสร็จพิธีทอดกฐิน

 

จากการสังเกตภายในศาลา ทางวัดได้จัดเตรียมสถานที่ มีการเว้นระยะห่าง มีจุดคัดกรอง เส้นทางการเข้าออกกับผู้นำผ้ากฐินไปร่วมทอด เจ้าอาวาสแจ้งว่าโดยการปรับปรุงศาลาแห่งนี้ อาตมาได้ใช้เศษไม้เก่าๆ ซึ่งไม้นี้ก็มีอายุกว่า 100 ปี อาตมานำกลับมาใช้โดยไม่ให้สูญเสีย ชิ้นเล็กๆ ก็เอามาประกอบตามเสา ตามกำแพง ให้เป็นรูปลาย เพื่อดูงามตา  ภายในศาลาติดพัดลมขนาดใหญ่ จำนวน 2 ตัว ทำให้บรรยากาศในศาลาเย็นสบายไม่ต้องติดตั้งแอร์ นอกจากนี้เสาภายในศาลาที่มีอยู่จำนวน 34 ต้น เจ้าอาวาสก็จะทำการปิดทองคำแท้ ทุกต้น แต่ละต้นใช้ทองปิดถึงต้นละ 3 หมื่นบาท ได้มีประชาชนจองเป็นเจ้าภาพคนละต้น 2 ต้น นับว่าเป็นไอเดียของเจ้าอาวาสนักคิดค้นพัฒนาได้เยี่ยมจริงๆ โดยเฉพาะห้องน้ำก็สะอาดมากใช้ระบบไฮเทคทั้งหมด และกฐินวันที่ 16 ตุลาคม 2565 นี้ก็จะได้ใช้ศาลาแห่งนี้เป็นครั้งแรก เจ้าอาวาสกล่าวทิ้งท้าย./

 



 


 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.