ปภ.เผยยังมีน้ำท่วม 16 จังหวัด "นราธิวาส" เกิดวาตภัย เร่งช่วยผู้ประสบภัย
7 พ.ย. 2565, 17:33
วันนี้ ( 7 พ.ย.65 ) เวลา 10.30 น. ปภ.รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 16 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สุพรรณบุรี นครปฐม ตรัง และสงขลา รวม 57 อำเภอ 448 ตำบล 3,222 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 172,272 ครัวเรือน นอกจากนี้ ได้เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 46 หลัง ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยและเร่งระบายน้ำ เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภัย สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้เร่งฟื้นฟูพื้นที่เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ อ่าวไทย และทะเลอันดามัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง โดยในช่วงวันที่ 4 – 7 พ.ย. 65 ได้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ สตูล สงขลา ยะลา และตรัง รวม 5 อำเภอ 14 ตำบล 59 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,444 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 2 จังหวัด รวม 2 อำเภอ 6 ตำบล 44 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,231 ครัวเรือน ดังนี้
1. ตรัง เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ตำบลโพรงจระเข้ อำเภอย่านตาขาว ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
2. สงขลา น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอรัตภูมิ รวม 5 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,225 ครัวเรือน ถนนเสียหาย 15 สาย สะพานเสียหาย 2 แห่ง คอสะพานเสียหาย 2 แห่ง ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
นอกจากนี้ จากสถานการณ์มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย และความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในห้วงที่ผ่านมา รวมถึงมีการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ในช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 7 พ.ย. 65 ได้เกิดอุทกภัย รวม 59 จังหวัด 353 อำเภอ 1,879 ตำบล 11,770 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 528,063 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 12 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 14 จังหวัด รวม 55 อำเภอ 442 ตำบล 3,178 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 171,041 ครัวเรือน โดยภาพรวมระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องทุกจังหวัด ดังนี้
1. นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ และอำเภอชุมแสง รวม 22 ตำบล 163 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,747 ครัวเรือน
2. ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอน้ำพอง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอหนองนาคำ และอำเภอหนองเรือ รวม 7 ตำบล 20 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 682 ครัวเรือน
3. มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน รวม 46 ตำบล 563 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,173 ครัวเรือน
4. กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอฆ้องชัย และอำเภอกมลาไสย รวม 7 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 603 ครัวเรือน
5. ร้อยเอ็ด น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ และอำเภอทุ่งเขาหลวง รวม 10 ตำบล 54 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,773 ครัวเรือน
6. ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ อำเภอราษีไศล และอำเภอยางชุมน้อย รวม 24 ตำบล 168 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,138 ครัวเรือน อพยพประชาชน 913 ครัวเรือน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 35 จุด มีผู้เสียชีวิต 3 ราย
7. อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอตาลสุม อำเภอดอนมดแดง และอำเภอพิบูลมังสาหาร รวม 21 ตำบล 117 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,258 ครัวเรือน อพยพประชาชน 183 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 94 จุด
8. ชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ และอำเภอมโนรมย์ รวม 11 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,894 ครัวเรือน
9. สิงห์บุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอบางระจัน รวม 7 ตำบล 49 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,827 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 6 ราย
10. อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา รวม 52 ตำบล 315 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 22,498 ครัวเรือน
11. พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอ บางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางซ้าย และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 103 ตำบล 719 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 67,806 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย
12. ปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 62 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,771 ครัวเรือน
13. สุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 43 ตำบล 271 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 26,105 ครัวเรือน
14. นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามพราน อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี และอำเภอกำแพงแสน รวม 68 ตำบล 593 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 14,766 หมู่บ้าน
อีกทั้ง เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 65 ได้เกิดวาตภัยในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้บ้านเรือประชาชนได้รับความเสียหาย 46 หลัง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน สิ่งสาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค รวมถึงเส้นทางคมนาคมให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”